วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

เอาใจสาวกแม่ ๆ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่กันค่ะ ต่อให้คุณแม่หลาย ๆ ท่านที่จำเป็นจะต้องกลับไปทำงาน แต่ภารกิจการให้นมลูกยังต้องดำเนินต่อไป วันนี้แม่เลยมีเคล็ดลับดี ๆ ที่คุณแม่จะได้เก็บน้ำนมแม่ที่ได้จากการปั๊มนมไม่ว่าจะใช้เครื่องปั๊มนมก็ดี หรือใช้มือในการปั๊มก็ดี รับรองว่าคุณแม่จะได้นำคำแนะนำดี ๆ ที่แม่คัดสรรมาให้เพื่อที่คุณแม่จะได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตราบเท่าที่คุณแม่ต้องการเลยล่ะค่ะ

สำหรับคุณแม่ส่วนใหญ่ที่เลือกการเลี้ยงลูกนมแม่จากเต้าอาจเป็นเพราะวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะแม่เองก็ให้นมลูกจากเต้าเช่นกันค่ะ เพราะไปไหน มาไหน แม่ก็ไม่ต้องคอยกังวลว่าเจ้าตัวน้อยจะงอแงเพราะหิว หากต้องให้นมลูกจากเต้าในที่สาธารณะ ก็แค่มีตัวช่วยง่าย ๆ ก็คือผ้าคลุมขณะให้นมลูก เพียงเท่านั้นเจ้าตัวเล็กก็อิ่มหนำสำราญแล้วใช่มั้ยล่ะคะ อีกทั้งยังรวดเร็วทันใจทั้งคุณแม่ทั้งคุณลูกอีกด้วย แต่ แต่ แต่ คุณแม่อีกหลายท่านก็ไม่สามารถจะให้นมลูกจากเต้าได้ นั่นอาจเป็นเพราะสาเหตุหลายประการ เช่น (1)

ทำไมต้องปั้มนม – คุณแม่สายปั้ม

ซึ่งคุณแม่จำนวนไม่น้อยเลยค่ะ ที่อยากจะให้เจ้าตัวเล็กได้รับนมแม่ เพราะนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย อีกทั้งยังช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันของลูกน้อย จึงทำให้คุณแม่บางคนชอบที่จะปั๊มนมเก็บไว้ แล้วนำใส่ช่องแช่แข็ง ในกรณีที่ต้องออกไปทำธุระ หรือ กรณีฉุกเฉินต่าง ๆ ซึ่งก็จะทำให้ลูกน้อยได้รับประทานนมแม่ได้

แล้วจะทำอย่างไรเมื่อคุณแม่อยากมีนมแม่เก็บไว้ให้เจ้าตัวเล็ก มาดูคำแนะนำดี ๆ ที่คุณแม่สามารถนำไปใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดน้ำนมเพื่อที่จะได้ทำสตอคไว้ให้ลูกกันค่ะ ตัวอย่างเช่น: (1)

คำแนะนำในการปั้มนมสตอคเก็บไว้ให้ลูกกิน

1. พยายามผ่อนคลายอย่างมีสติ โดยใช้วิธีใดก็ได้ที่เหมาะกับคุณ อย่างแม่เอง จะพยายามเลือกการกระตุ้นให้เกิดน้ำนมโดยการอยู่ในบริเวณที่เงียบสงบ แต่อบอุ่น คือถ้าหันไปดูรอบ ๆ ก็ยังรู้สึกว่าไม่น่ากลัวเหมือนอยู่ในมิติลี้ลับอะไรทำนองนี้ค่ะ ที่สำคัญควรเลือกสถานที่ที่ห่างไกลจากสิ่งรบกวน ในขณะปั๊มนมนั้น ให้คุณแม่หายใจเข้าช้า ๆ และลึก ๆ อย่างแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มไฟฟ้า ก็จะสะดวกหน่อย ซึ่งสามารถนั่งรับประทานอาหารไป ปั๊มนมไปได้ด้วยค่ะ

2. คุณแม่หลาย ๆ ท่านที่ก่อนจะปั๊มนม แนะนำให้ลองดื่มน้ำอุ่น หรือ จะเป็นซุปสักถ้วยก็ดีมาก ๆ เลยค่ะ

3. ฟังเพลงเบา เปิดเพลงคลอไปก่อนจะปั๊มนม อันนี้ช่วยให้ผ่อนคลายได้จริง ๆ ค่ะ

4. การปั๊มนมหลังการอาบน้ำอุ่น ๆ ก็ดีไม่น้อยเลยค่ะ หรือจะลองใช้ผ้าอุ่น ๆ ประคบเต้านม ก็เป็นการกระตุ้นน้ำนมให้ไหลมาเทมา แถมยังรู้สึกคลายความเจ็บปวดเนื่องจากการคัดเต้านมอีกด้วย

5. นวดเต้านมเบา ๆ โดยลูบลงไปที่หัวนมและค่อย ๆ คลึงหัวนมระหว่างนิ้วของคุณ แม้ว่าคุณแม่จะไม่สามารถดันน้ำนมออกจากเต้าได้ด้วยการนวดอย่างทันทีทันใจ แต่วิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่ได้กระตุ้นน้ำนมได้ดีเลยค่ะ

6. การคิดถึงลูกน้อยของคุณแม่ค่ะ ให้คุณแม่ได้คิดว่านมแม่สำคัญกับลูกมากแค่ไหน และเหตุใดจึงจำเป็นต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การคิดถึงหน้าเจ้าตัวน้อยก่อนการปั๊มนม ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นน้ำนมเท่านั้นนะคะ แต่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายและอบอุ่นใจด้วยค่ะ จริงมั้ยเอ๋ย?

7. การมีคนรอบข้าง หรือหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่จะคอยสนับสนุนคุณแม่อยู่ตลอดนั้น จะทำให้คุณแม่ได้มีกำลังใจและได้รับคำแนะนำต่าง ๆ โดยที่คุณแม่ไม่ต้องลองผิดลองถูกเอง แถมยังช่วยให้คุณแม่ลดความตึงเครียด และสามารถผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพให้เจ้าตัวน้อยได้ค่ะ

บางครั้งในขณะที่คุณแม่กำลังกระตุ้นน้ำนมให้ไหลออกมานั้น น้ำนมอาจจะไม่ได้หลังมาในทันทีทันใด ซึ่งก็อาจต้องใช้เวลาสักครู่เพื่อให้น้ำนมของคุณแม่เริ่มไหล พยายามเลือกช่วงเวลาที่คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย การมีลูกน้อย หรือ รูปถ่ายของลูกอยู่ใกล้ ๆ ก็อาจช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ ซึ่งคุณแม่สามารถทำการปั๊มนมได้ 2 วิธี ดังต่อไปนี้ค่ะ:

1. การปั๊มนมด้วยมือ (2)

คุณแม่บางคนพบว่าการรีดนมด้วยมือทำได้ง่ายมาก โดยเฉพาะในช่วงสองสามวันแรกหรือสัปดาห์แรก ซึ่งแน่นอนว่าคุณไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปั๊มมือด้วยมือหรือไฟฟ้าเลยด้วยซ้ำ การปั๊มนมด้วยมือ จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้เองจากส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านม ซึ่งหากคุณแม่ที่มีท่อน้ำนมอุดตัน วิธีนี้ก็เป็นประโยชน์กับคุณแม่มากทีเดียวค่ะ อย่าลืมถือขวดนมหรือภาชนะที่ฆ่าเชื้อไว้แล้วใต้เต้านมเพื่อรองน้ำนมขณะไหลด้วยนะคะ

เคล็ดลับดี ๆ ในการปั๊มนมด้วยมือ

2. การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊ม (2)

การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊ม

การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนมมี 2 ประเภท คือ แบบใช้มือ และ แบบไฟฟ้า เครื่องปั๊มนมจะแตกต่างกัน ซึ่งคุณแม่ก็สามารถเลือกให้เหมาะกับความต้องการ และ การใช้งานของคุณแม่เลยค่ะ อย่างเครื่องปั๊มด้วยมืออาจมีราคาถูกกว่า แต่อาจไม่เร็วเท่ากับเครื่องปั๊มไฟฟ้า จึงเป็นการดีหากคุณแม่จะขอคำปรึกษาจากคุณหมอหรือพยาบาล หรืออาจจะขอทางโรงพยาบาลที่สามารถให้คุณแม่ได้ทดลองใช้ก่อน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อก็ช่วยได้มากทีเดียวค่ะ สำหรับเครื่องปั๊มไฟฟ้าจะมีความแรงในการปั๊มหรือการดูดที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นนั้น ๆ ซึ่งคุณแม่ควรดูคู่มือการใช้และศึกษาอย่างละเอียดค่ะ เพราะบางครั้งหากคุณแม่ตั้งค่าความแรงในการปั๊มที่มากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดหัวนมเสียหายและเจ็บได้ค่ะ นอกจากนี้ ขนาดของเครื่องปั๊มนมที่วางบนเต้านมในแต่ละเครื่องนั้น อาจมีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรเลือกให้พอดีกับหัวนม และเมื่อปั๊มนมแล้ว จะไม่ทำให้เกิดรอยช้ำหรือเจ็บหัวนมค่ะ ที่สำคัญที่สุดที่คุณแม่ต้องพึงใส่ใจนั่นคือ ก่อนการใช้เครื่องปั๊มนมไม่ว่าจะแบบใช้มือหรือไฟฟ้า ตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่าปั๊มและภาชนะสำหรับเก็บน้ำนมนั้นสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อก่อนใช้งานนะคะ

การเลือกใช้วัสดุในการเก็บนมแม่หลังจากการปั๊มนม (3)

1. ใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่หรือภาชนะบรรจุอาหารที่สะอาด ที่สำคัญต้องมีฝาปิดแน่น ซึ่งจะทำมาจากแก้วหรือพลาสติกเพื่อเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ค่ะ

2. หลีกเลี่ยงขวดที่มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 7 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาชนะนั้นอาจทำจากพลาสติกที่มี BPA

3. ห้ามเก็บน้ำนมแม่ไว้ในขวดแบบใช้แล้วทิ้งหรือถุงพลาสติกที่ไม่ได้มีไว้สำหรับเก็บน้ำนม

การเก็บรักษาน้ำนมแม่ (2)

การเก็บรักษาน้ำนมแม่

คุณแม่สามารถเก็บน้ำนมแม่ไว้ในภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือในถุงเก็บน้ำนมแม่ที่มีให้เลือกหลายรูปแบบได้เลยค่ะ ซึ่งคุณแม่สามารถเก็บน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยคำแนะนำดังนี้ค่ะ:

1. หากคุณแม่เก็บในตู้เย็น จะใช้ได้นานถึง 8 วันที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า (ซึ่งคุณแม่สามารถซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิตู้เย็นทางออนไลน์ได้ค่ะ) หากคุณไม่แน่ใจว่าอุณหภูมิของตู้เย็นจะสูงกว่า 4 องศาเซลเซียสหรือไม่ แนะนำให้ใช้ให้หมดภายใน 3 วัน

2. หากคุณแม่เก็บไว้ในช่องน้ำแข็งของตู้เย็น จะใช้ได้นานถึง 2 สัปดาห์

3. ถ้าคุณแม่มีช่องแช่แข็งหรือตู้แช่ที่มีอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า นมแม่ก็จะอยู่ได้นานถึง 6 เดือน แม่เห็นเพื่อน ๆ หลายคนที่ตัดสินใจซื้อตู้แช่ เพื่อจะได้ทำสตอคเก็บนมให้ลูกได้กินนมแม่นาน ๆ อีกทั้งยังมีพื้นที่เก็บได้เยอะขึ้นค่ะ

4. นมแม่ที่เย็นจากในตู้เย็น สามารถนำใส่ถุงหรือกระเป๋าเก็บความเย็น แล้วแพคน้ำแข็งไว้ข้างในนั้น สามารถเก็บได้นานถึง 24 ชั่วโมง

ทริคเล็ก ในการเก็บน้ำนมแม่:

หากคุณแม่กำลังคิดจะทำสตอคน้ำนมแม่ให้ลูกน้อยไว้ในตู้แช่แข็ง อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจค่ะว่าคุณแม่ได้ติดป้ายกำกับวันที่ไว้แล้วหรือยัง และการเก็บน้ำนมในปริมาณที่ไม่เยอะจนเกินไป ก็จะช่วยลดการใช้นมอย่างฟุ่มเฟือย หรือ เสียหายได้ค่ะ

การละลายน้ำนมแม่ที่แช่แข็ง (2)

วิธีที่ดีที่สุดคือ การละลายน้ำนมแม่ที่แช่แข็งอย่างช้า ๆ ในตู้เย็นก่อนที่จะให้ลูกน้อย หากคุณแม่จำเป็นต้องใช้ทันทีทันใด คุณแม่สามารถละลายน้ำแข็งได้โดยใส่ในภาชนะที่มีน้ำอุ่นหรือถือผ่านน้ำอุ่น เมื่อน้ำแข็งละลายแล้ว ให้เขย่าเบา ๆ หากน้ำนมมีการแยกชั้นกันอยู่ และใช้ให้หมดทันที อย่าแช่แข็งนมที่ละลายแล้วซ้ำนะคะ เมื่อลูกน้อยเริ่มดื่มนมจากขวดแล้ว ก็ควรใช้ภายใน 1 ชั่วโมงและหากเหลือ ก็ให้ทิ้งไปเลยค่ะ

การอุ่นนมแม่

คุณแม่สามารถป้อนนมจากตู้เย็นโดยตรงได้เลยค่ะหากลูกน้อยของคุณแม่ชอบที่จะดื่มแบบเย็น ๆ ชื่นใจ ๆ หรือคุณแม่สามารถอุ่นนมให้อยู่ในอุณหภูมิร่างกายโดยใส่ในขวดนม และนำลงไปอุ่นในภาชนะที่ใส่น้ำอุ่นอยู่ หรือ ถือไว้ให้น้ำอุ่นไหลผ่านสักระยะ

ข้อควรระวัง: อย่าใช้ไมโครเวฟเพื่อทำให้นมร้อนขึ้นหรือละลายน้ำแข็งนะคะ สิ่งนี้อาจจะทำให้เกิดจุดเดือดที่ร้อนจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้ปากของลูกน้อยไหม้ได้เลยล่ะค่ะ

เคล็ดลับอื่น ๆ กับการจัดเก็บน้ำนมแม่ (3)

เป็นไงบ้างคะสำหรับคำแนะนำและเคล็ดลับต่าง ๆ เกี่ยวกับการเก็บน้ำนมแม่ ที่แม่นำมาฝากกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้คุณแม่ที่ตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กันนะคะ แต่อย่าลืมนะคะว่านอกจากโภชนาการเรื่องอาหารที่แม่ใส่ใจแล้ว ในเรื่องของสุขอนามัย และการทำความสะอาดฆ่าเชื้อและจัดเก็บอุปกรณ์ปั๊ม ขวดนม หรือ อุปกรณ์ให้นมอื่น ๆ อย่างระมัดระวัง ก็ช่วยปกป้องให้น้ำนมของแม่จากสิ่งปนเปื้อน ทำให้ลูกมีน้ำนมที่ทรงคุณค่าทั้งสารอาหารและปลอดภัยด้วยค่ะ


อ้างอิง 
(1) Expressing and storing breastmilk
(2) Expressing and storing breast milk
(3) Proper Storage and Preparation of Breast Milk