Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home Baby

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

Arrani by Arrani
February 17, 2021
in Baby, การเลี้ยงลูก, แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Reading Time: 3min read
0
พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

0
SHARES
159
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

คุณแม่ทราบมั้ยคะว่า สมองของลูกน้อยกว่า 80% นั้นจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วไปจนเมื่ออายุ 3 ขวบเลยทีเดียว แต่ในช่วงขวบปีแรกนี่แหละค่ะ ที่สมองของลูกน้อยจะเริ่มพัฒนาในหลาย ๆ ทักษะอย่างที่คุณแม่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นทักษะในด้านความจำ ภาษา การคิด และการใช้เหตุผล ลูกน้อยจะเรียนรู้โดยการสำรวจโลก นั่นคือการสังเกตจากสิ่งรอบตัวของพวกเขา และลูกน้อยจะฟังคุณแม่และเริ่มเข้าใจได้ว่าคุณแม่ใช้ชื่ออะไรแทนอะไรบ้าง เช่น ใช้คำนี้ในการแทนการเรียกชื่อของสิ่งของต่าง ๆ หรือ คำนั้น ๆ สำหรับเรียกชื่อผู้คน เป็นต้น นอกจากนี้นะคะ ลูกน้อยสามารถเรียนรู้และสัมผัสได้ถึงความรัก ความไว้ใจที่คุณแม่แสดงออกกับพวกเขา ไม่ว่าจะด้วยวิธีสวมกอดหรือการเล่นกับลูกน้อยนั่นเองค่ะ (1)

ก้าวเล็ก ๆ แต่ไม่เล็ก ที่คุณแม่ทำในตอนนี้ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะส่งต่อความสำเร็จให้ลูกน้อยในอนาคตได้ ขั้นตอนง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่ได้ตรวจสอบลูกน้อย ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จทั้งในโรงเรียนและชีวิต มีดังนี้ค่ะ

ขั้นตอนสำคัญสำหรับขวบปีแรก จะมี 4 ประเด็นหลัก ๆ อันประกอบไปด้วย: (1)

1. พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์

2. การพัฒนาทางด้านภาษาและการสื่อสาร

3. การพัฒนาความรู้และความเข้าใจ เช่น การเรียนรู้ในเรื่องการแก้ปัญหาต่าง ๆ

4. การเคลื่อนไหวและพัฒนาการทางด้านร่างกาย

แน่นอนค่ะว่าพัฒนาการชองลูกน้อยย่อมสังเกตได้ในแต่ละเดือน ๆ ไป เหตุการณ์สำคัญ ๆ ต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณแม่ได้ทำเช็คลิสต์ไว้ว่าลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมวัยหรือไม่ค่ะ (2)

เดือนที่ 1

  • สามารถยกศีรษะได้ชั่วขณะ
  • หันศีรษะจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งได้เมื่อนอนหงาย
  • กำมือแน่น
  • มีปฏิกิริยาการสะท้อนกลับอย่างเห็นได้ชัด เช่น การกำมือ
  • ดูและติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ในระยะ 45 องศา
  • การมองเห็นจะเป็นในรูปแบบสีดำและสีขาว
  • เงียบเมื่อได้ยินเสียง
  • ร้องไห้เพื่อแสดงความไม่พอใจ หรือ อึดอัด
  • ทำเสียงในคอ
  • ดูพ่อแม่อย่างตั้งใจเมื่อมีการพูดคุยกัพวกเขา

เดือนที่ 2

  • ยกศีรษะเกือบ 45 องศาเมื่อนอนคว่ำ
  • ศีรษะหันไปข้างหน้าเมื่ออยู่ในท่านั่ง
  • มีปฏิกิริยาการสะท้อนกลับ เช่น การกำมือ ลดลง
  • ติดตามสิ่งของที่ห้อยด้วยสายตา
  • ค้นหาเสียงด้วยสายตา
  • ส่งเสียงอย่างอื่น นอกเหนือจากการร้องไห้
  • เสียงร้องมีลักษณะเด่นชัดขึ้น เช่น ผ้าอ้อมเปียก หิว เป็นต้น
  • เปล่งเสียงออกมา เมื่อได้ยินเสียงที่คุ้นเคย
  • รอยยิ้มทางสังคมจะแสดงให้เห็นโดยเฉพาะเวลาเล่นกับคุณพ่อคุณแม่และมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ
ติดตามสิ่งของที่ห้อยด้วยสายตา
ติดตามสิ่งของที่ห้อยด้วยสายตา

เดือนที่ 3

  • เริ่มรับน้ำหนักบางส่วนที่ขาทั้งสองข้างได้ เมื่ออยู่ในท่ายืน
  • สามารถยกศีรษะขึ้นได้เมื่อนั่ง แต่ก็ยังไม่มั่นคง
  • เมื่อนอนคว่ำ สามารถยกศีรษะและไหล่ได้ระหว่าง 45 ถึง 90 องศา
  • แบกรับน้ำหนักที่ปลายแขน
  • ปฏิกิริยายาการสะท้อนกลับ เช่น การกำมือ จะหายไป
  • ถือวัตถุได้ แต่ยังเอื้อมไม่ถึง
  • ใช้มือกำผ้าห่มและเสื้อผ้าได้
  • ติดตามวัตถุได้ 180 องศา
  • ค้นหาเสียงโดยการหันศีรษะและมองไปในทิศทางเดียวกัน
  • ส่งเสียงอ้อแอ้ หัวเราะเบา ๆ ได้
  • จดจำใบหน้า เสียง และวัตถุได้
  • เริ่มอยากคุยเมื่อได้ยินเสียงทักทาย
  • ยิ้มเมื่อเห็นคนคุ้นเคย และมีการเล่นหยอกล้อกับพวกเขา
  • แสดงอาการถึงการรับรู้ได้ในสถานการณ์ที่ผิดปกติ

เดือนที่ 4

  • มีน้ำลายไหลเริ่มขึ้น
  • การควบคุมศีรษะดีขึ้น
  • นั่งได้แต่ต้องมีการสนับสนุน
  • แบกรับน้ำหนักขาของตนเองได้ เมื่อยืนตัวตรง
  • ยกศีรษะและหน้าอกขึ้นจากพื้นผิวเป็นมุม 90 องศา
  • ม้วนหรือพลิกตัวจากด้านหลังไปอีกด้านหนึ่ง
  • ชอบสำรวจและเล่นกับมือมากขึ้น (จะเห็นว่าลูกชอบเอากำปั้นเข้าปาก)
  • พยายามที่จะเข้าถึงวัตถุ แต่อาจจะพลาดเป้าได้
  • จับวัตถุด้วยมือทั้งสองข้าง
  • ตาและมือทำงานประสานกัน
  • มีการเล่นคำ เล่นเสียง
  • หัวเราะ
  • สนุกกับการโยก เด้ง หรือ เหวี่ยงเบา ๆ

เดือนที่ 5

  • สัญญาณการงอกของฟันเริ่มขึ้น
  • ยกศีรษะขึ้นเมื่อนั่ง
  • ม้วนหรือพลิกตัวจากท้องไปด้านหลัง
  • สามารถยกเท้าเข้าปากได้เมื่อนอนหงาย
  • จับแต่ถือสิ่งของได้นานขึ้น
  • ชอบเล่นกับนิ้วเท้า
  • นำสิ่งของหรือวัตถุเข้าปากโดยตรง
  • ดูตามสิ่งของที่ตกหล่นได้
  • พูดส่งเสียง หรือ ผสมเสียงสระ หรือพยัญชนะที่คล้ายกันได้ เช่น อู อ้า , กา ก๊า
  • ยิ้มให้กับภาพสะท้อนในกระจก
  • อารมณ์เสีย หงุดหวิด ถ้าคุณขัดใจ หรือ เอาของเล่นพวกเขาไป
  • สามารถบอกว่านี่คือคนในครอบครัวหรือคนแปลกหน้าได้
  • เริ่มค้นพบส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของพวกเขา

เดือนที่ 6

  • เกิดการเคี้ยวและกัด
  • เมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำ พวกเขาสามารถยกหน้าอกและส่วนหนึ่งของท้องออกจากพื้นผิวที่สัมผัสอยู่ โดยแบกน้ำหนักไว้ที่มือ
  • ยกศีรษะได้ดี เมื่อยู่ในท่านั่ง
  • ม้วนหรือพลิกตัวจากหลังถึงท้อง
  • แบกรับน้ำหนักส่วนใหญ่ได้เมื่ออยู่ในท่ายืน
  • จับและควบคุมวัตถุขนาดเล็กได้
  • ถือขวดนมเองได้
  • คว้าเท้าและดึงเท้าเข้าปากได้
  • ปรับร่างกายได้คล่องขึ้น
  • หันศีรษะจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง แล้วมองขึ้นลงได้
  • ชอบสิ่งเร้าทางสายตาที่ซับซ้อนมากขึ้น
  • พูดเสียงพยางค์เดียวได้เช่นพ่อแม่ม๊า
  • รู้จักพ่อแม่
ถือขวดนมเองได้
ถือขวดนมเองได้

เดือนที่ 7

  • นั่งได้โดยไม่ต้องพยุง และบางคนอาจสามารถโน้มตัวไปข้าวหน้าด้วยมือทั้งสองข้างได้
  • แบกรับน้ำหนักได้เต็มเท้า
  • กระโดดเด้งได้เมื่ออยู่ในท่ายืน
  • แบกน้ำหนักไว้ที่มือข้างเดียว เมื่อนอนคว่ำ
  • สามารถเคลื่อนไหววัตถุหรือสิ่งของจากมือข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งได้
  • สามารถนำวัตถุมาเคาะกันได้
  • สามารถนำวัตถุขนาดเล็กมาติดกันได้
  • ตอบสนองต่อชื่อตนเองได้
  • การรับรู้ถึงความลึกและพื้นที่ต่าง ๆ เริ่มต้นขึ้น
  • มีสิ่งของที่โปรดปราน
  • พูดคุยโดยการเปล่งเสียง เมื่อคนอื่นกำลังพูด

เดือนที่ 8

  • นั่งได้ดีโดยไม่ต้องมีการสนับสนุนหรือพยุง
  • แบกรับน้ำหนักที่ขาและอาจยืนจับเฟอร์นิเจอร์
  • ปรับท่าทางในการเข้าถึงวัตถุ
  • หยิบจับสิ่งของโดยใช้นิ้วมือต่าง ๆ ได้
  • สามารถปล่อยสิ่งของหรือวัตถุได้
  • สามารถดึงเชือกหรือสายต่าง ๆ ที่ติดกับวัตถุได้
  • เข้าถึงของเล่นที่อยู่ไกลเกินเอื้อมได้
  • เลือกฟังคำศัพท์ที่คุ้นเคย
  • เริ่มการรวมพยางค์ เช่น มาม๊า ปาป๊า แต่บางคำอาจไม่มีความหมาย
  • เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่อาจไม่เชื่อฟังเสมอไป
  • ไม่ชอบที่จะเปลี่ยนผ้าอ้อมและแต่งตัว เพราะเริ่มขยับตัวและเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น

เดือนที่ 9

  • เริ่มต้นเก็บข้อมูลต่าง ๆ การเลียนแบบเกิดขึ้นจากจุดนี้
  • ลุกขึ้นจากท่านั่งได้
  • นั่งเป็นเวลานาน เช่น 10 นาที
  • อาจชอบเล่นด้วยมือเดียว
  • ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ในการหยิบวัตถุหรือสิ่งของได้ดี
  • ตอบสนองต่อคำสั่งด้วยคำพูดง่าย ๆ ได้
  • เข้าใจความหมายของคำว่า “ไม่”
  • เพิ่มความสนใจในการทำให้พ่อแม่พึงพอใจ (ขี้อ้อนมากขึ้นนั่นเอง)
  • วางแขนไว้บนหน้า เพื่อให้ทราบว่า หนูไม่อยากล้างมือ

เดือนที่ 10

  • เปลี่ยนจากท่าคว่ำท้องไปสู่ท่านั่งได้ดี
  • ลุกขึ้นนั่งได้ ถึงแม้จะล้มลงอยู่
  • นั่งได้โดยไม่ล้ม มีความสมดุลในขณะนั่ง
  • ยกเท้าข้างหนึ่งเพื่อก้าว และอาจก้าวหนึ่งหรือสองก้าวขณะยืน
  • เข้าใจคำง่าย ๆ ได้ เช่น บ๊าย บาย
  • พูดคำว่า แม่ พ่อ มาม๊า ปาป๊า โดยรู้ความหมายของคำได้
  • โบกมือลาได้
  • เล่นเกมโต้ตอบได้ เช่น จ๊ะเอ๋
  • สนุกกับการอ่านและติดตามภาพในหนังสือ
  • เริ่มกระทำในสิ่งที่สามารถดึงดูดความสนใจจากพ่อแม่ได้

เดือนที่ 11

  • ก้าวเดินได้โดยใช้สองมือถือและจับเฟอร์นิเจอร์หรือวัตถุหรือสิ่งของอื่นๆ
  • วางวัตถุหรือสิ่งของเล็ก ๆ ลงในภาชนะได้
  • เอี้ยวตัวกลับไปหยิบวัตถุได้ขณะนั่ง
  • สำรวจวัตถุต่าง ๆ อย่างละเอียดยิ่งขึ้น
  • สามารถจัดการการนำวัตถุหรือสิ่งของต่าง ๆ ออกจากข่องว่างที่คับแคบได้
  • กลิ้งลูกบอลไปมาได้
  • รู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้ทำอะไรที่ตัวเองได้ควบคุม หรือเป็นใหญ่
  • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อถูกจำกัด
  • ส่ายหัวเพื่อให้รู้ว่า “ไม่ ๆ” “no no”
สามารถจัดการการนำวัตถุหรือสิ่งของต่าง ๆ ออกจากข่องว่างที่คับแคบได้
สามารถจัดการการนำวัตถุหรือสิ่งของต่าง ๆ ออกจากข่องว่างที่คับแคบได้

เดือนที่ 12

  • เดินได้ด้วยการจับมือหนึ่งปล่อยมือหนึ่ง
  • อาจลึกยืนเองได้ด้วยตนเอง และพยายามก้าวก้าวแรกด้วยตัวเอง
  • นั่งลงจากท่ายืนโดยไม่ต้องช่วยเหลือ
  • พยายามต่อบล็อคหรือสิ่งของต่าง ๆ เป็นชั้น ๆ ได้ แต่อาจไม่สำเร็จ
  • เปลี่ยนหน้าหนังสือได้
  • ติดตามวัตถุที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
  • พูด 3 คำขึ้นไป นอกเหนือจาก พ่อ แม่ ป๊า ม๊า
  • เข้าใจความหมายของคำหลาย ๆ คำ
  • พูดคำเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • เลียนเสียงได้ เช่น เสียงสุนัข เสียงแมว
  • รับรู้วัตถุสิ่งของตามชื่อเรียก
  • เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ ด้วยคำพูด
  • แสดงความรัก เช่น การจูบ การกอด
  • แสดงความเป็นอิสระเมื่ออยู่ในสถานที่หรือสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย
  • อยู่ติดกับพ่อแม่ในสถานการณ์แปลก ๆ
  • ค้นหาวัตถุ ของเล่น หรือ สิ่งของต่าง ๆ ที่พบเห็นครั้งสุดท้ายด้วยตนเอง

ถึงแม่ว่าเหตุการณ์สำคัญที่ระบุไว้ในแต่ละเดือนอาจจะบรรลุเป้าหมายและลูกน้อยมีสัญญาณแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีพัฒนาการสมวัย แต่เด็ก ๆ แต่ละคนก็อาจมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไป หากลูกน้อยของคุณแม่ยังไม่มีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญ ๆ ตามที่ระบุไว้ ก็ไม่ได้หมายความว่ามีบางอย่างผิดปกติ ลูกน้อยอาจจะพัฒนาทักษะเหล่านี้ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวล ก็ให้ลองปรึกษากุมารแพทย์ของลูกน้อย เพราะความล่าช้าอาจบ่งบอกถึงปัญหาต่าง ๆ ได้ อย่างทารกที่คลอดก่อนกำหนด มักจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าคนอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน เป็นต้น (1) นอกจากนี้การที่คุณแม่ได้ทราบถึงพัฒนาการลูกน้อยในแต่ละเดือน ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้คุณแม่ได้คอยเฝ้าระวัง และกระตุ้นให้ลูกน้อยได้มีพัฒนากรที่ดีขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้คุณแม่ชื่นใจสุด ๆ นั่นก็คือการที่คุณแม่ได้เห็นการพัฒนาการของลูกน้อยตลอดทางนั่นเองค่ะ


อ้างอิง
(1) Development And Milestones For Infants
(2) First Year Infant Development

ShareTweet
Previous Post

วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

Next Post

พัฒนาการทารกในครรภ์คุณแม่ ตลอด 40 สัปดาห์

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
245
เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

April 2, 2021
177
วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด

เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมคุณแม่ หลังคลอด – ทำได้เอง

March 18, 2021
298
อาการนอนไม่หลับของคนท้อง

อาการนอนไม่หลับของคนท้อง ระหว่างตั้งครรภ์

March 17, 2021
258
วิธีนับลูกดิ้น

วิธีนับลูกดิ้น สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

March 8, 2021
512
ข้อดีของจุกหลอก

จุกหลอก มีดีอย่างไร ในเด็กต่ำกว่า 1 ปี

March 17, 2021
478
Next Post
พัฒนาการทารกในครรภ์คุณแม่ ตลอด 40 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์คุณแม่ ตลอด 40 สัปดาห์

  • Trending
  • Comments
  • Latest
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In