Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home Baby

จุกหลอก มีดีอย่างไร ในเด็กต่ำกว่า 1 ปี

ข้อดีของการใช้จุกหลอก

Arrani by Arrani
March 17, 2021
in Baby, การเลี้ยงดูทั่วไป, การเลี้ยงลูก, แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Reading Time: 2min read
0
ข้อดีของจุกหลอก

ข้อดีของจุกหลอก

0
SHARES
459
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

จุกหลอก หรือ จุกนมหลอก หรือบางคนเรียกว่า จุกนมเทียม ยังคงมีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ ๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ หรือ ในไทยเอง ก็มีการเลือกใช้จุกหลอกสำหรับทารกกันไม่น้อยเลยทีเดียว และเชื่อมั้ยคะว่ามีรายงานการทดลองล่าสุดของประเทศแคนาดาพบว่า ทารกกว่า 84% ต้องมีการใช้จุกหลอกอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (1)

จุกหลอก คืออะไร?

จุกหลอก ก็คือ สิ่งที่ประกอบด้วยจุกนม ที่มีไว้สำหรับทารกน้อยได้ดูด แต่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้กับทารกในการดูดนมหรือของเหลว และโดยปกติแล้วจะมีที่ป้องกันหรือที่จับหรือเป็นวงแหวนติดห้อยมาด้วย ซึ่งเป็นโครงสร้างที่อยุ่ที่ฐานของหัวนม เพื่อป้องกันไม่ให้จุกนมหลอกเข้าไปในปากของทารกหมดทั้งอัน ที่จับหรือวงแหวนนี้มักจะติดอยู่กับจุกนมหลอกเพื่อใช้สำหรับจับหรือนำเข้าปาก ซึ่งสามารถหมุนได้โดยอิสระค่ะ (3)

จุกหลอก
จุกหลอก

จุกหลอกที่ปลอดภัยมีลักษณะสำคัญอย่างไร? (3)

ตามกฎข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น กำหนดเลยค่ะว่าการใช้จุกหลอกที่ปลอดภัยนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกสำลักหรือหายใจไม่ออก ซึ่งมีกฎข้อหนดที่คุณแม่สามารถนำไปใช้เลือกซื้อได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนี้ค่ะ:

1. จุกนมหลอกคงประกอบกันอยู่เป็นชิ้นเดียว หลังจากมีการทดสอบจากการดึงแยกออกจากกัน หรือเขย่าแรง ๆ เป็นต้น

2. จุกหลอกต้องได้รับการออกแบบและสร้างด้วยสิ่งที่ป้องกัน เช่นที่จับ หรือวงแหวน เพื่อป้องกันไม่ให้จุกนมหลอกเข้าไปปากของทารกและปิดกั้นหรือติดคอทารกน้อยนั่นเอง

ข้อกำหนดสำคัญสำหรับจุกนมหลอกคืออะไร? (3)

1. สิ่งป้องกัน :

อาทิเช่น วงแหวน ที่จับ หรือ ฐานที่ติบกับจุกนมหลอก ซึ่งต้องมีประสิทธิภาพเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กไม่สามารถกลืนจุกนมหลอกทั้งอันได้และเพื่อให้แน่ใจว่าจุกนมหลอกมีการระบายอากาศที่เพียงพอในขณะใช้งาน

2. ตัวจุกนมที่ยื่นออกมา :

จุกนมหลอกจำเป็นจะต้องถูกทดสอบให้มั่นใจว่าเมื่อทารกมีการใช้จุกนมหลอก มันจะไม่ถูกบีบหรือหลุดเข้าปากทารกหากทารกล้มหน้าคว่ำลง

3. ความสมบูรณ์ของโครงสร้าง :

ส่วนนี้รวมถึงการทดสอบที่ออกแบบมาเพื่อจำลองการใช้งานจริงและการทดสอบนี้ต้องทำให้มั่นใจได้ว่าจุกนมหลอกจะไม่แตกออกจากกันและทำให้เด็กทารกเกิดอันตรายจากการสำลักชิ้นส่วนเล็ก ๆ

4. สายคล้องต่าง ๆ :

จุกนมหลอกไม่ควรขายพร้อมกับสายคล้องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชือก ริบบิ้น สายโซ่ เส้นด้าย เป็นต้น

5. ฉลาก :

จุกนมหลอกควรมีป้ายฉลายติดคำเตือนให้เห็นอย่างชัดเจน อาทิเช่น ห้ามผูกจุกนมหลอกไว้รอบคอเด็ก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจากการรัดได้ เป็นต้น

ข้อดีของจุกนมหลอก (4)

1. ช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวติอย่างกะทันหันของทารก (SIDS) ซึ่งกุมารแพทย์หลายท่านในประเทศสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ใช้จุกนมหลอกเมื่อวางทารกลงเพื่องีบหลับหรือก่อนนอน เพื่อช่วยลด SIDS อย่างไรก็ตาม อย่าติดสายรัดที่คอหรือเปลซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการสำลักได้

2. ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งมีการศึกษาเลยค่ะว่า มารดาที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดสามารถให้นมแม่ได้ดีขึ้น หากทารกใช้จุกนมหลอก การลดการร้องไห้ของทารกให้น้อยที่สุด เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้า อารมณ์เปราะบาง และหงุดหงิดง่าย เพราะเมื่อทารกเรียนรู้ที่จะปลอบประโลมตัวเองด้วยการใช้จุกนมหลอก ก็จะทำให้คุณแม่มีเวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยระหว่างการให้นมลูก ทำให้ความเครียดจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัวน้อยลง ในกรณีนี้ก็ถือว่าการใช้จุกนมหลอกจะช่วยสนับสนุนทั้งคุณแม่และลูกน้อยเลยล่ะค่ะ

3. การใช้จุกนมหลอกช่วยหันเหหรือลดความสนใจจากสิ่งเร้าที่ทำให้ทารกกำลังอารมณ์เสีย เครียด หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การใช้จุกนมหลอกขณะทารกกำลังฉีดวัคซีน เป็นต้น มีการบันทึกไว้เลยนะคะว่าการให้จุกนมหลอกสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ มันจะช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดของทารกและทำให้พวกเขารู้สึกสบายตัวขึ้นค่ะ

การใช้จุกนมหลอกช่วยหันเหหรือลดความสนใจจากสิ่งเร้าที่ทำให้ทารกกำลังอารมณ์เสีย
การใช้จุกนมหลอกช่วยหันเหหรือลดความสนใจจากสิ่งเร้าที่ทำให้ทารกกำลังอารมณ์เสีย

4. การใช้จุกนมหลอกในทารกที่คลอดก่อนกำหนดส่งผลต่อการอยู่หรือนอนโรงพยาบาลสั้นลง และสามารถกินนมขวดได้ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาแสดงให้เห็นเลยนะคะว่า การย่อยอาหารของทารกดีขึ้นเมื่อดูดจุกนมหลอกในระหว่างการดูดนม โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่น้อยกว่า 32 สัปดาห์

5. การใช้จุกนมหลอกสามารถช่วยให้ทารกน้อยรู้สึกสะดวกกับการเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางทางอากาศอย่างเครื่องบิน นั่นเป็นเพราะการดูดจุกหลอกจะช่วยให้การเคลื่อนไหวของขากรรไกรในการดูด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหูชั้นกลางซึ่งทำให้ทารกรู้สึกถึงแรงกดอากาศหรือหูอื้อน้อยลงค่ะ

คำแนะนำง่าย ๆ สำหรับการใช้จุกหลอก (5)

1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจุกนมหลอกเป็นจุกแบบชิ้นเดียวก่อนใช้งานเสมอ

2. อย่าใช้จุกนมหลอกกับอุปกรณ์ในตัวชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้หรือมีการออกแบบโดยมีของเหลวอยู่ข้างใน ซึ่งหากมีการฉีกขาด อาจเป็นอันตรายสำหรับเด็กได้

3. ใช้จุกนมหลอกที่ฐานแบบปิดผนึกแน่นหนากับตัวจุกนมหลอก

4. อย่าแขวนจุกนมหลอกไว้กับเชือกหรือสายห้อยรอบคอของทารก

5. อย่านำจุกนมหลอกไปจุ่มในน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำเชื่อมข้าวโพด หรือน้ำตาลรูปแบบอื่น ๆ

6. ทำความสะอาดจุกนมหลอกเป็นประจำ แนะนำให้ต้มจุกนมหลอก หากทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน

7. เปลี่ยนจุกหลอกหากเกิดความเสียหาย หรือพลาสติกเริ่มแตกหรือมีพื้นผิวที่แตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ

8. ปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำสำหรับการหย่าจุกนมหลอก เมื่อลูกมีอายุครบ 1 ขวบ

ทริคเล็ก ๆ สำหรับการเลิกใช้จุกนมหลอก (2)

1. จำกัดเวลาที่คุณจะอนุญาตให้ลูกใช้จุกนมหลอกได้ เช่น ใช้สำหรับเวลานอน หรือเพื่อความสะดวกสบายของลูกน้อยจนถึงอายุ 12 เดือน หลังจากนั้นควรวางแผนว่าจะรับมืออย่างไรให้ลูกเลิกใช้จุกนมหลอกด้วยนะคะ

2. อย่าใช้จุกนมหลอกเป็นเครื่องต่อรอง การลงโทษหรือบังคับลูกให้ทำในสิ่งนั้น ๆ

3. ให้ลูกของคุณได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่จะเลิกใช้จุกนมหลอก โดยให้เขาเลือกว่าจะทิ้งมันไป หรือ จะใช้ทริคที่แม่เคยใช้เช่น เราจะทิ้งไว้ใต้หมอนเพื่อให้เทพเจ้าฟันน้ำนมดูแลต่อไป เป็นต้นค่ะ

4. ให้รางวัลกับลูกเมื่อลูกมีการตอบสนองที่ดีในการจะเลิกใช้จุกหลอก

5. ชมเชยลูกเสมอเมื่อพวกเขาไม่ใช้จุกหลอนในบางสถานการณ์ ซึ่งทำให้พวกเขารู้สึกภูมิใจว่าพวกเขาได้โตขึ้นอีกระดับหนึ่งแล้วนะ

6. ปล่อยให้ลูกของคุณได้แสดงความรู้สึกของพวกเขาและถ้าลูกของคุณรู้สึกกำลังโกรธ หรืออารมณ์เสีย แทนที่จะใช้จุกนมหลอก คุณแม่ก็สามารถกอดเพื่อสร้างความอบอุ่น ความมั่นใจให้พวกเขาแทน เป็นต้น

7. หากลูกยังคงขอจุกนมหลอกเรื่อย ๆ ใจแข็งเข้าไว้ค่ะคุณแม่ เตือนพวกเขาว่า จุกนมหลอกหายไปแล้ว และพวกเขาก็ไม่ต้องการมันอีก เพราะหนูโตแล้วนะคะ

หากลูกยังคงขอจุกนมหลอกเรื่อย ๆ ใจแข็งเข้าไว้ค่ะคุณแม่
หากลูกยังคงขอจุกนมหลอกเรื่อย ๆ ใจแข็งเข้าไว้ค่ะคุณแม่

คุณแม่หลาย ๆ คนเคยสังเกตเห็นทารกน้อยเกิดความอยากดูด ทำปากจ๊วบ ๆ ตลอดเวลา หรือบางคนอาจถึงขั้นดูดนิ้วโป้งหรือนิ้วอื่น ๆ ก่อนคลอดด้วยซ้ำ ซึ่งนี่เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติที่ถือเป็นหนึ่งในพัฒนาการ นอกจากจะช่วยให้พวกเขารู้สึกสบายใจ ยังช่วยให้พวกเขารู้สึกสงบได้อีกด้วย การใช้จุกนมหลอก ก็ถือเป็นหนึ่งตัวช่วยที่ตอบสนองความต้องการของทารกในการดูด อย่างไรก็ตาม คุณแม่ก็ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมและไม่ควรใช้แทนการให้อาหาร หรือใช้เพื่อความสะดวกสบายของตัวคุณแม่เอง ซึ่งคุณแม่สามารถช่วยทารกให้ผ่อนคลายได้ด้วยวิธีง่าย ๆ อย่างการกอด (2) ไม่อย่างนั้น จุกหลอก อาจกลายเป็น จุกหลอน เพราะลูกอาจจะอยากดูดแต่จุกหลอก จนไม่อยากกอดคุณแม่เอาได้นะคะ…..อิอิ


Resources :
(1) Recommendations for the use of pacifiers
(2) Pacifiers (soothers): A user’s guide for parents
(3) Pacifiers Business Guidance
(4) The Pros and Cons of Pacifier Use
(5) How to Use a Pacifier

ShareTweet
Previous Post

แนะนำ อาหารบำรุงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

Next Post

วิธีนับลูกดิ้น สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
231
เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

April 2, 2021
165
วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด

เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมคุณแม่ หลังคลอด – ทำได้เอง

March 18, 2021
279
อาการนอนไม่หลับของคนท้อง

อาการนอนไม่หลับของคนท้อง ระหว่างตั้งครรภ์

March 17, 2021
242
วิธีนับลูกดิ้น

วิธีนับลูกดิ้น สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

March 8, 2021
472
พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

February 17, 2021
154
Next Post
วิธีนับลูกดิ้น

วิธีนับลูกดิ้น สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • Trending
  • Comments
  • Latest
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In