Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home การเลี้ยงลูก

เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมคุณแม่ หลังคลอด – ทำได้เอง

Arrani by Arrani
March 18, 2021
in การเลี้ยงลูก, คุณแม่, ให้นมลูก
Reading Time: 2min read
0
วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด

วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด

0
SHARES
279
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

คุณแม่หลาย ๆ ท่านที่ประสบปัญหาน้ำนมยังไม่มาหลังคลอด หรือ รู้สึกว่าน้ำนมไม่เพียงพอสำหรับลูกน้อยของคุณอยู่หรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบเพื่อเรียนรู้วิธีเพิ่มการผลิตน้ำนมกันค่ะ ซึ่งวิธีการที่จะแนะนำนั้น ก็เป็นวิธีที่แม่ ๆ ปฏิบัติกันมาเป็นเวลากว่าหลายศตวรรษและใช้ได้ผลกันเสมอมา เพราะฉะนั้นคุณแม่หลาย ๆ คนที่กำลังกังวลเกี่ยวกับการผลิตน้ำนมไม่เพียงพอ ก็อย่าเพิ่งหยุดหรือล้มเลิกการให้นมแม่นะคะ นำหลักการเหล่านี้ไปใช้ รับรองว่าคุณแม่จะมีน้ำนมให้ลูกน้อยได้ แถมอาจมีน้ำนมเก็บเป็นสตอคไว้ให้ลูกทานนมแม่เมื่อเราไว้กลับไปทำงานอีกด้วยล่ะค่ะ

คุณแม่ผลิตน้ำนมเพียงพอ หรือไม่? (1)

ขั้นตอนแรกเลยนะคะ คุณแม่ต้องมองหาสัญญาณเหล่านี้จากลูกน้อยก่อนค่ะ ว่าคุณมีน้ำนมเพียงพอสำหรับพวกเขาหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ใส่ใจกับจำนวนผ้าอ้อมที่เปียก อุจจาระที่ขับถ่าย พัฒนาการของลูกและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของลูกน้อย

สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรกังวล:

1. หน้าอกของคุณแม่

คุณแม่อาจจะกังวลกับหน้าอกเกินไป ไม่ได้หมายถึงว่า กลัวจะมีการหย่อนคล้อยหรือเสียรูปทรงจนไม่อยากให้นมลูกนะคะ แต่แม่หมายถึงการที่คุณแม่ชอบคิดไปเองหรือกังวลแล้วว่า เอ๊ะ!! หากหน้าอกรู้สึกนุ่มนิ่ม ไม่คัดเต้า นั่นแสดงว่าเราอาจจะมีปริมาณน้ำนมที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อยหรือเปล่า? เพราะปริมาณน้ำนมที่คุณแม่ผลิตได้นั้นจะปรับให้เข้ากับความต้องการของลูกน้อยอยู่แล้วค่ะ

2. ลูกน้อยดูดนมในระยะเวลาแค่สั้น ๆ

เด็กแต่ละคนอาจมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน และความเร็วในการดูดนมที่ไม่เหมือนกัน บางคนอาจดูดนมช้า บางคนอาจดูดนมได้เร็ว อย่างเช่นทารกน้อยบางคนอาจใช้เวลาในการดูดนมในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ 5 นาทีในแต่ละเต้า คุณแม่เลยอาจกังวลว่าลูกอาจได้รับนมไม่เพียงพอหรือเปล่าน๊า?

ลูกน้อยดูดนมในระยะเวลาแค่สั้น ๆ
ลูกน้อยดูดนมในระยะเวลาแค่สั้น ๆ

3. ความถี่ในการดูดนมที่มากขึ้น

คุณแม่ที่กังวลว่า เอ๊ะ!! เพิ่งจะให้นมลูกไปยังไม่ถึงชั่วโมง ทำไมลูกถึงส่งสัญญาณจะดูดนมอีกแล้วล่ะเนี่ย และความถี่ในการดูดนมที่มากขึ้นนี้เอง ทำให้คุณแม่อาจกังวลว่าลูกอาจไม่อื่นในการดูดนมจากรอบก่อน ๆ เลยขอดูดแล้วดูดอีก ทำให้คุณแม่ต้องให้นมบ่อยขึ้นและนานขึ้น แต่จริง ๆ แล้วสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากการเจริญเติบโตของทารกแบบพรุ่งพรวดรวดเร็ว หรือ growth spurt นั่นเองค่ะ

4. ปั๊มนมได้น้อยจัง

คุณแม่หลาย ๆ คนที่ลองปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มมือ เครื่องปั๊มไฟฟ้า หรือการปั๊มด้วยมือก็ดี แต่รู้สึกเหมือนว่าการผลิตนมแต่ละครั้งที่ปั๊มจะมีน้อยซะเหลือเกิน จะบอกเลยค่ะว่า คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเครื่องจักรที่ใหญ่และมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการรีดนมแม่ออกมาก็คือเจ้าตัวน้อยของคุณแม่นี่เองค่ะ เพราะฉะนั้นคลายความกังวลว่าทำไมเราปั๊มนมได้น้อยจัง แล้วจะเพียงพอต่อลูกน้อยมั้ยล่ะเนี่ย? เพียงพออย่างแน่นอนจ้า

ปั๊มนมได้น้อยจัง
ปั๊มนมได้น้อยจัง

คุณแม่ควรผลิตน้ำนมมากแค่ไหน ถึงเรียกว่าปกติ (2)

แน่นอนค่ะว่าอัตราการผลิตน้ำนมของคุณแม่แต่ละท่านอาจจะแตกต่างกันไป อีกทั้งยังมีความแตกต่างกันไปตลอดทั้งวันอีกด้วย โดยปกติปริมาณน้ำนมจะมากที่สุดในตอนเช้า และจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อแต่ละวันดำเนินไป นอกจากนี้คุณแม่จะสังเกตได้ว่าปริมาณน้ำนมเมื่อตอนหลังคลอดใหม่ ๆ จะมีปริมาณที่แตกต่างกันไป โดยคุณแม่จะเห็นถึงการเพิ่มขึ้นทีละน้อย ๆ ค่ะ ลองไปดูปริมาณน้ำนมโดยประมาณที่คุณแม่จะสามารถผลิตได้กันเลยค่ะ

ค่าเฉลี่ยทั่วไปโดยประมาณ

  • ภายใน 5 วันแรกหลังคลอด: คุณแม่สามารถผลิตน้ำนมได้มากถึง 200 – 300 ml ต่อ 24 ชั่วโมง
  • ภายใน 8 วันแรกหลังคลอด: คุณแม่สามารถผลิตน้ำนมได้มากถึง 400 – 500 ml ต่อ 24 ชั่วโมง
  • ภายใน 14 วันแรกหลังคลอด: คุณแม่สามารถผลิตน้ำนมได้มากถึง 750 ml ต่อ 24 ชั่วโมง
  • หลังจากนั้น: คุณแม่จะสามารถผลิตน้ำนมได้มากถึง 750 – 1,000 ml ต่อวัน

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่มีปริมาณน้ำนมต่ำ (1)(2)

  • หากคุณแม่ป่วย เช่น โรคตับอักเสบบี เริม เบาหวาน เป็นต้น
  • มีความเครียดสูง
  • ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ความไม่สมดุลของต่อมไทรอยด์หรือต่อมใต้สมอง
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคโลหิตจาง
  • มีเศษรกที่คั่งค้าง
  • ต้องกลับไปทำงาน
  • ยาบางชนิดที่อาจทำให้เกิดปัญหาในการผลินน้ำนม
  • คุณแม่บางท่านพบว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ ปริมาณน้ำนมก็จะน้อยลงไปด้วย
  • การคุมกำเนิด เช่นการทานยาคุมกำเนิดหรือยาอื่น ๆ มีผลทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง คุณแม่จึงไม่ควรเริ่มการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนก่อนลูกน้อยจะอายุ 6-8 สัปดาห์ค่ะ
  • การจำกัดช่วงให้นมของทารก อย่าลืมนะคะว่า ยิ่งให้ลูกน้อยดูดนมบ่อยเท่าไหร่ คุณแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้มากขึ้นเช่นกันค่ะ
  • การให้นมผงหรือนมสูตรสำเร็จแทนการให้นมแม่
  • ให้ลูกเริ่มรับประทานอาหารเสริมก่อนทารกอายุ 4-6 เดือน
  • การนอนหลับไม่เพียงพอ
  • การดื่มแอลกอฮอร์
  • การสูบบุหรี่
  • ผ่านการผ่าตัดเต้านม

เคล็ดลับ (แต่ไม่ลับ) ในการเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ (2)

การที่คุณแม่พยายามทำตัวให้ผ่อนคลายที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่ทำให้คุณแม่ที่กำลังให้นมลูก หรือปั๊มนมมีปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ค่ะ:

  1. การกอดลูกน้อยหรือเล่นดนตรีเพื่อความผ่อนคลายในขณะให้นมหรือปั๊มนม ซึ่งอาจช่วยลดความเครียดได้
  2. การแสดงออกถึงความรัก ความเมตตาของคุณแม่ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส หรือการกอด ทั้งในขณะให้นมลูกก็ดี หรือหลังการให้นมก็ดี จะส่งผลให้มีการผลิตน้ำนมที่มากขึ้น
  3. การพักผ่อนและโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ ซึ่งนั่นก็หมายถึงการที่คุณแม่ได้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพทั้งสามมื้อในแต่ละวัน รวมถึงของว่างที่มีประโยชน์ด้วยนะคะ
  4. การดื่มน้ำที่เพียงพอ ซึ่งโดยปกติแล้วคุณแม่ที่ให้นมลูกควรดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 2 ลิตรต่อวัน
  5. เข้านอนเร็วให้เร็วขึ้น เพราะอย่าลืมว่าคุณแม่ต้องมีชั่วโมงกลางดึกที่ต้องตื่นมาให้นมเจ้าตัวน้อย
  6. พยายามลดระดับคาเฟอีนให้น้อยงลง
  7. อย่าอดอาหารในขณะที่กำลังให้นมลูก เป็นที่ทราบกันดีว่าระดับไขมันในนมนั้นอาจไม่เพียงพอ
  8. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือพยายามลดปริมาณบุหรี่ที่สูบในแต่ละวัน อย่าให้นมลูกหรือปั๊มนมในขณะที่สูบบุหรี่หรือหลังจากสูบบุหรี่
  9. ในขณะที่คุณแม่เพิ่งฟื้นตัวจากการคลอด การกอดลูกน้อยของคุณแบบ skin to skin จะช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น การสวมเสื้อผ้าที่ช่วยให้คุณแม่สามารถปลดกระดุมเสื้อ หรือ ถอดเสื้อชั้นในได้สะดวกนั้น จะช่วยให้ลูกน้อยได้รับประโยชน์จากการสัมผัสกับตัวแม่ เช่น การกอดลูกน้อยไว้ใกล้หน้าอก ซึ่งร่างกายของคุณแม่จะตอบสนองในเชิงบวกต่อการอุ้มลูกน้อยไว้ใกล้ ๆ ในแต่ละครั้ง และนั่นจะช่วยให้การผลิตน้ำนมของคุณแม่เป็นไปอย่างราบรื่นนั่นเอง
  10. หากคุณแม่ต้องการปั๊มนม ให้ปั๊มนมแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 10 นาทีในแต่ละเต้า และรออีก 10 นาทีเพื่อจะทำการปั๊มอีกครั้งจนกว่าน้ำนมจะหยุดไหล แต่ระยะเวลาในการปั๊มแต่ละครั้งไม่ควรนานเกิน 30 นาที (ดูเพิ่มเติม วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่)
  11. การใช้มือช่วยระบายน้ำนมจากเต้านมเพิ่มเติมหลังจากการปั๊ม ก็ช่วยให้การกระตุ้นการผลิตน้ำนมได้มากขึ้นด้วย ควรทำอย่างน้อย 8-10 ครั้งใน 24 ชั่วโมง การประคบอุ่นและนวดหน้าอกจะช่วยให้เต้านมของคุณแม่คลายความเจ็บปวด อีกทั้งยังช่วยบรรเทาการคัดของเต้านมได้
  12. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณแม่มีเครื่องปั๊มนมที่ออกแบบมาสำหรับคุณแม่ที่กำลังผลิตหรือดูแลปริมาณน้ำนมโดยการให้นมแก่ทารก
  13. การมีเครื่องปั๊มไฟฟ้าที่สามารถปั๊มได้ทั้งสองเต้าในเวลาเดียวกัน จะมีประสิทธิภาพในการผลิตน้ำนมได้มากกว่า หากคุณแม่ต้องการสร้างปริมาณน้ำนม หรือทำนมสตอคไว้ให้กับลูกน้อยในอนาคต
การกอดลูกน้อยหรือเล่นดนตรีเพื่อความผ่อนคลายในขณะให้นมหรือปั๊มนม ซึ่งอาจช่วยลดความเครียดได้
การกอดลูกน้อยหรือเล่นดนตรีเพื่อความผ่อนคลายในขณะให้นมหรือปั๊มนม ซึ่งอาจช่วยลดความเครียดได้

ในสองสามวันแรก คุณแม่จะมีน้ำนมเหลือง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่อาจจะออกมาเพียงไม่กี่หยด และน้ำนมจะเริ่มมามากขึ้นประมาณวันที่สาม หรืออาจจะเร็วกว่านั้นแล้วขึ้นอยู่กับคุณแม่แต่ละท่านค่ะ

แต่ไม่ว่าคุณแม่จะผลิตน้ำนมมากแค่ไหน น้ำนมทุกหยดก็ล้วนมีคุณค่ากับลูกน้อยที่จะได้รับประโยชน์ทางโภชนาการและภูมิคุ้มกัน จริงมั้ยล่ะคะ?


Resources:
(1) Low Milk Supply
(2) Increasing your breast milk supply

ShareTweet
Previous Post

อาการนอนไม่หลับของคนท้อง ระหว่างตั้งครรภ์

Next Post

เจ็บท้องจริง เจ็บท้องเตือน น้ำเดินหรือยัง?

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
231
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
330
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
278
แก้อาการแพ้ท้อง เวียนหัว อ้วก อาเจียนตอนเช้า

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง เวียนหัว อ้วก อาเจียนตอนเช้า

April 13, 2021
434
ข้อดีของจุกหลอก

จุกหลอก มีดีอย่างไร ในเด็กต่ำกว่า 1 ปี

March 17, 2021
459
พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

February 17, 2021
154
Next Post
เจ็บท้องจริง เจ็บท้องเตือน น้ำเดินหรือยัง?

เจ็บท้องจริง เจ็บท้องเตือน น้ำเดินหรือยัง?

  • Trending
  • Comments
  • Latest
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In