Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home Baby

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

Arrani by Arrani
February 10, 2021
in Baby, การเลี้ยงลูก, ให้นมลูก
Reading Time: 2min read
0
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

0
SHARES
1.3k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

คุณแม่ท่านใดกำลังกังวลปัญหาการแหวะนมของทารกน้อยอยู่บ้างมั้ยคะ? วันนี้แม่จะมาเล่าถึงประสบการณ์และคำแนะนำให้คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านที่กำลังมองหาทางออก หรือ คลายข้อสงสัยที่เกี่ยวกับอาการแหวะนมของทารกน้อย จริงอยู่ค่ะ ที่การแหวะนมหลังจากลูกกินนมนั้นดูเหมือนปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากกินนมไม่ว่าจะทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ก็ดี หรือนมผงก็ดี เมื่อลูกกินนมเข้าไปปุ๊บ แน่นอนค่ะว่า ขณะลูกดูดนมจากเต้าหรือขวดนมนั้น สิ่งหนึ่งที่ทารกกลืนลงไปนอกเหนือจากน้ำนมแล้ว ก็คืออากาศนั่นเอง เมื่อท้องอิ่ม กระเพาะอาหารสามารถบังคับให้กล้ามเนื้อหูรูดเปิดและดันจนเต็มหลอดอาหารได้ จึงมีอาการแหวะนมอย่างที่เห็นค่ะ คุณแม่จึงควรมีผ้าติดตัวไว้ เพื่อทำความสะอาดเมื่อทารกมีอาการแหวะนมอย่างกะทันหัน (1)

ทารกบางคนอาจจะมีอาการแหวะนมได้มากกว่าเด็กทารกคนอื่น ๆ แล้วจะทำอย่างไร ? คุณควรลดปริมาณนม หรือ เปลี่ยนตำแหน่งหรือท่าให้นม แต่ก่อนที่เราจะไปดูถึงการแก้ปัญหาอาการแหวะนม คุณแม่ลองไปดูถึงสาเหตุของอาการแหวะนมของทารกก่อนค่ะ เพื่อที่คุณแม่จะได้รู้ถึงวิธีการป้องกันในขั้นตอนต่อไปค่ะ

สาเหตุของการแหวะนมในทารก ?

การที่ทารกน้อยแหวะนมเป็นเรื่องปกติในทารกที่แข็งแรง ในช่วงสามเดือนแรก ทารกประมาณครึ่งหนึ่งพบว่ามีสารในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า “กรดไหลย้อน” (Gastroesophageal Reflux) (2) ในเด็กโตและผู้ใหญ่นั้น กล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารจะเก็บของเหลาวและอาหารไว้ในนั้น จนกว่ากล้ามเนื้อนี้จะโตเต็มที่ ซึ่งในเด็กทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขวบปีแรกของชีวิต ที่กล้ามเนื้อนี้ยังไม่โตหรือทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การแหวะนมจึงอาจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าลูกน้อยอิ่มมาก ๆ นั่นเองค่ะ (3)

อาการแหวะนมในปีแรกถือเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการลูกน้อย ซึ่งสาเหตุอื่น ๆ ของการแหวะนม ก็มาจากหลาย ๆ สาเหตุ ได้แก่

1. Aerophagia ซึ่งเกิดจากการที่ทารกกินอากาศเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าในขณะดูดนม

2. Overstimulation ซึ่งเกิดจากการที่ถูกกระตุ้นมากเกินไป เช่น การโยก การจับลูกนอนคว่ำ เป็นต้น

3. Pyloric stenosis ภาวะนี้มันจะเกิดขึ้นในเฉพาะช่วงเดือนแรกของทารก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง และมักจะเกิดขึ้นหลังจากการให้นมซึ่งส่งผลให้ทารกอาเจียนได้ และทารกที่มีอาการนี้ มักจะหิวอีกครั้งทันทีหลังจากอาเจียน

สาเหตุของการแหวะนมในทารก
สาเหตุของการแหวะนมในทารก

ความแตกต่างระหว่างอาการแหวะนม และ อาเจียน ?

จริงอยู่ค่ะที่อาจจะเป็นการยากสำหรับคุณแม่หลายท่านที่จะแยกว่าลูกน้อยแค่แหวะนม หรือ อาเจียนกันแน่ มีปัจจัยหลายประการที่จะช่วยให้คุณแม่หาคำตอบของความแตกต่างระหว่างสองอาการแหวะนมและอาเจียนค่ะ โดยทั่วไปแล้วการแหวะนมจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทารกส่วนใหญ่ก็ไม่ได้งอแงเมื่อเกิดอาการแหวะนมขึ้นกับพวกเขา ลูกน้อยยังคงมีความสุขทั้งก่อนและหลังอาการแหวะนมค่ะ

การแหวะนมเป็นเรื่องปกติมาก ๆ ในช่วงหลายเดือนแรกของชีวิตเด็กและมักเกิดขึ้นน้อยลงเมื่อลูกน้อยอายุใกล้ 1 ปีขึ้นไป การแหวะนมมักเริ่มขึ้นเมื่อทารกมีอายุก่อน 6 เดือน ซึ่งแม่เองก็ต้องเผชิญกับอาการแหวะนมของลูกอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะลูกสาวคนเล็ก ที่กินนมไปได้สักแป๊บ หันไปดูอีกที แหวะนมเต็มเสื้อเลยค่ะ แต่อย่างที่บอกข้างต้น ลูกแม่เองก็ไม่อาการร้องไห้เจ็บปวด แถมพอแหวะนมปุ๊บ ดูมีความสุขมากขึ้นไปอีกค่ะ

ส่วนการอาเจียนนั้นมักเป็นเพียงอาการร่วมอาการหนึ่งที่เกิดจากการเจ็บป่วยของทารกดังนั้นทั่วไปแล้วอาการอาเจียนมักพบร่วมกับอาการอื่นๆเช่นมีไข้หรือท้องร่วงค่ะอาการอาเจียนมักจะเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการอาเจียนในทารก ? (1)

การอาเจียนเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องและกะบังลมหดตัวแรงในขณะที่ท้องกำลังคลายตัว ปฏิกิริยานี้จะถูกกระตุ้นโดยศูนย์ที่เกี่ยวข้องกับการอาเจียน หรือ ศูนย์อาเจียน (vomiting center) ในสมองหลังจากได้รับการกระตุ้น โดย:

  • เส้นประสาทจากกระเพาะอาหารและลำไส้ เมื่อระบบทางเดินอาหารระคายเคืองหรือบวมจากการที่ติดเชื้อหรือการอุดตัน
  • สารเคมีในเลือด เช่น ยาที่รับประทานเข้าไป
  • สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น กลิ่นรบกวน
  • สิ่งกระตุ้นจากหูชั้นกลาง อาการเช่นเดียวกันกับการอาเจียนที่เกิดจากอาการเมารถ

สัญญาณที่บ่งชี้ว่าอาการแหวะนมของทารกผิดปกติ

ถึงแม้ว่าอาการแหวะนมจะดูเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณแม่พบสัญญาณเหล่านี้ นั่นแปลว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาอย่างอื่นมากกว่าการแหวะนมปกติ คุณแม่ควรติดต่อแพทย์เมื่อลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ค่ะ :

1. น้ำหนักลด

2. ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัวทั้งวัน

3. ของเหลวที่เกิดขึ้นจากอาการแหวะนมมีหลายสี เช่น สีแดงอมชมพู เหลือเข้ม หรือ สีเขียวน้ำดี หรือลักษณะของของเหลวนั้นดูผิดปกติ

เมื่ออาการผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้น แพทย์จะสามารถพิจารณาอาการและทำการทดสอบเพื่อตรวจสอบว่าลูกน้อยของคุณแม่เป็นโรคภาวะกรดไหลย้อน (GERD), อาเจียนขั้นรุนแรงหลังการให้นม (Pyloric Stenosis)หรือความเจ็บป่วยอื่นๆหากเป็นเช่นนั้นคุณหมอก็มักจะใช้ยาหรือมีการรักษาทางการแพทย์เพิ่มเติมค่ะ

สัญญาณที่บ่งชี้ว่าอาการแหวะนมของทารกผิดปกติ
สัญญาณที่บ่งชี้ว่าอาการแหวะนมของทารกผิดปกติ

เมื่อไหร่ที่คุณแม่ควรพิจารณาว่าอาการแหวะนมของทารกอันตราย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์? (1)

โดยปกติแล้วหากทารกมีอาการแหวะนมปกติทั่วไปคุณแม่ก็สามารถทำได้ที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องติดต่อแพทย์แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ก็อย่ารีรอที่จะพาลูกน้อยไปหาหมอค่ะ

  • ลูกน้อยเริ่มปฏิเสธการให้นมหรืออาหารหลาย ๆ ครั้ง
  • อุจจาระผิดปกติ มีเลือดปนอุจจาระ
  • หายใจลำบากหรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย
  • ร้องไห้งอแงมากกว่าสามชั่วโมงต่อวัน และหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ
  • มีผ้าอ้อมเปียกน้อยกว่าปกติ
  • หากลูกของคุณแม่มีอาการแหละนมเมื่ออายุ 12 เดือนขึ้นไป แต่การแหวะนมดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้นหรือลูกน้อยมีน้ำหนักลดลง ก็ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ (3)
  • หากลูกของคุณมีอาการแหวะนมหรืออาเจียนเป็นเลือดหรือน้ำดี จนถึงจุดที่ของเหลวเหล่านั้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน หรือ ไม่มีแรง โดยเฉพาะทารกอายุต่ำกว่า 12 สัปดาห์ (3)

เคล็ดลับที่ช่วยลดอาการแหวะนมในทารก (2)

1. ให้จับลูกท่าตั้งตรงให้มากขึ้น ติดตามการป้อนอาหารแต่ละครั้งโดยให้อยู่ในท่าตั้งตรงประมาณ 30 นาที และควรหลีกเลี่ยงการเล่นหรือใช้เปลโยกของทารกทันทีหลังกินอาหาร

2. หลีกเลี่ยงการให้อาหารที่มากเกินไป (overfeeding) การให้อาหารทารกในปริมาณน้อยลง แต่บ่อยขึ้นอาจช่วยลดอาการแหวะได้มากขึ้น

3. ใช้เวลาในการเรอให้ลูกน้อยมากขึ้น และทำการเรอให้พวกเขาบ่อย ๆ ระหว่างและหลังการให้นมแต่ละครั้ง ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปสะสมในท้องของทารกได้

4. ให้ทารกได้นอนหงาย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทารกเสียชีวิตอย่างกะทันหัน (SIDS) ไม่แนะนำให้คุณแม่วางลูกน้อยในท่าคว่ำ เพราะนั่นจะเป็นการกระตุ้นการแหวะนม

5. ทดลองรับประทานอาหารของคุณแม่เอง หากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การที่คุณแม่เลือกรับประทานอาหารที่ลดความเสี่ยงต่อการแหวะนมของลูกน้อย เช่นผลิตภัณฑ์จากนม ออกจากอาหารของคุณแม่ได้ ก็จะช่วยให้ลดอัตราการเกิดการแหวะนมได้มากขึ้นค่ะ

ให้ทารกได้นอนหงาย
ให้ทารกได้นอนหงาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนแรก ๆ ของทารกน้อย การอาเจียนอาจร้ายแรงแค่ในช่วงที่ทารกมีการเจ็บป่วย หรือมีความไวต่อภาวะการขาดน้ำเป็นพิเศษ แต่ไม่ว่าลูกจะมีอาการแหวะนมหรืออาเจียน สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องคอยดูแลเพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณแม่มีน้ำอย่างเพียงพอขณะไม่สบาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของลูกน้อยเองค่ะ นอกจากนี้ หากว่า…การแหวะนมที่เกิดขึ้นกับทารก ไม่ได้เป็นปัญหาหรืออุปสรรคให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว เพราะเด็กหลายๆ คนที่ยังคงเล่นได้ มีความสุข ไม่งอแง แถมน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นเป็นปกติเมื่อมีอาการแหวะนม คุณแม่ก็คลายความกังวลไปได้เลยค่ะ หวังว่าเคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่คลายข้อสงสัยและความกังวลใจในอาการแหวะนมของทารกไปได้ไม่มากก็น้อย และแม่หวังอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่ทุกท่านนะคะ


Resources:

(1) Why Babies Spit Up
(2) Spitting up in babies: What’s normal, what’s not
(3) Is All This Baby Spit-Up Normal?

ShareTweet
Previous Post

เคล็ดลับการให้นมแม่ ฉบับมนุษย์แม่ออฟฟิศ

Next Post

วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
231
เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

April 2, 2021
165
วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด

เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมคุณแม่ หลังคลอด – ทำได้เอง

March 18, 2021
279
อาการนอนไม่หลับของคนท้อง

อาการนอนไม่หลับของคนท้อง ระหว่างตั้งครรภ์

March 17, 2021
242
วิธีนับลูกดิ้น

วิธีนับลูกดิ้น สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

March 8, 2021
472
ข้อดีของจุกหลอก

จุกหลอก มีดีอย่างไร ในเด็กต่ำกว่า 1 ปี

March 17, 2021
459
Next Post
วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

  • Trending
  • Comments
  • Latest
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In