อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

คุณแม่ท่านใดกำลังกังวลปัญหาการแหวะนมของทารกน้อยอยู่บ้างมั้ยคะ? วันนี้แม่จะมาเล่าถึงประสบการณ์และคำแนะนำให้คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านที่กำลังมองหาทางออก หรือ คลายข้อสงสัยที่เกี่ยวกับอาการแหวะนมของทารกน้อย จริงอยู่ค่ะ ที่การแหวะนมหลังจากลูกกินนมนั้นดูเหมือนปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากกินนมไม่ว่าจะทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ก็ดี หรือนมผงก็ดี เมื่อลูกกินนมเข้าไปปุ๊บ แน่นอนค่ะว่า ขณะลูกดูดนมจากเต้าหรือขวดนมนั้น สิ่งหนึ่งที่ทารกกลืนลงไปนอกเหนือจากน้ำนมแล้ว ก็คืออากาศนั่นเอง เมื่อท้องอิ่ม กระเพาะอาหารสามารถบังคับให้กล้ามเนื้อหูรูดเปิดและดันจนเต็มหลอดอาหารได้ จึงมีอาการแหวะนมอย่างที่เห็นค่ะ คุณแม่จึงควรมีผ้าติดตัวไว้ เพื่อทำความสะอาดเมื่อทารกมีอาการแหวะนมอย่างกะทันหัน (1)

ทารกบางคนอาจจะมีอาการแหวะนมได้มากกว่าเด็กทารกคนอื่น ๆ แล้วจะทำอย่างไร ? คุณควรลดปริมาณนม หรือ เปลี่ยนตำแหน่งหรือท่าให้นม แต่ก่อนที่เราจะไปดูถึงการแก้ปัญหาอาการแหวะนม คุณแม่ลองไปดูถึงสาเหตุของอาการแหวะนมของทารกก่อนค่ะ เพื่อที่คุณแม่จะได้รู้ถึงวิธีการป้องกันในขั้นตอนต่อไปค่ะ

สาเหตุของการแหวะนมในทารก ?

การที่ทารกน้อยแหวะนมเป็นเรื่องปกติในทารกที่แข็งแรง ในช่วงสามเดือนแรก ทารกประมาณครึ่งหนึ่งพบว่ามีสารในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า “กรดไหลย้อน” (Gastroesophageal Reflux) (2) ในเด็กโตและผู้ใหญ่นั้น กล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารจะเก็บของเหลาวและอาหารไว้ในนั้น จนกว่ากล้ามเนื้อนี้จะโตเต็มที่ ซึ่งในเด็กทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขวบปีแรกของชีวิต ที่กล้ามเนื้อนี้ยังไม่โตหรือทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การแหวะนมจึงอาจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าลูกน้อยอิ่มมาก ๆ นั่นเองค่ะ (3)

อาการแหวะนมในปีแรกถือเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการลูกน้อย ซึ่งสาเหตุอื่น ๆ ของการแหวะนม ก็มาจากหลาย ๆ สาเหตุ ได้แก่

1. Aerophagia ซึ่งเกิดจากการที่ทารกกินอากาศเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าในขณะดูดนม

2. Overstimulation ซึ่งเกิดจากการที่ถูกกระตุ้นมากเกินไป เช่น การโยก การจับลูกนอนคว่ำ เป็นต้น

3. Pyloric stenosis ภาวะนี้มันจะเกิดขึ้นในเฉพาะช่วงเดือนแรกของทารก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง และมักจะเกิดขึ้นหลังจากการให้นมซึ่งส่งผลให้ทารกอาเจียนได้ และทารกที่มีอาการนี้ มักจะหิวอีกครั้งทันทีหลังจากอาเจียน

สาเหตุของการแหวะนมในทารก

ความแตกต่างระหว่างอาการแหวะนม และ อาเจียน ?

จริงอยู่ค่ะที่อาจจะเป็นการยากสำหรับคุณแม่หลายท่านที่จะแยกว่าลูกน้อยแค่แหวะนม หรือ อาเจียนกันแน่ มีปัจจัยหลายประการที่จะช่วยให้คุณแม่หาคำตอบของความแตกต่างระหว่างสองอาการแหวะนมและอาเจียนค่ะ โดยทั่วไปแล้วการแหวะนมจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทารกส่วนใหญ่ก็ไม่ได้งอแงเมื่อเกิดอาการแหวะนมขึ้นกับพวกเขา ลูกน้อยยังคงมีความสุขทั้งก่อนและหลังอาการแหวะนมค่ะ

การแหวะนมเป็นเรื่องปกติมาก ๆ ในช่วงหลายเดือนแรกของชีวิตเด็กและมักเกิดขึ้นน้อยลงเมื่อลูกน้อยอายุใกล้ 1 ปีขึ้นไป การแหวะนมมักเริ่มขึ้นเมื่อทารกมีอายุก่อน 6 เดือน ซึ่งแม่เองก็ต้องเผชิญกับอาการแหวะนมของลูกอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะลูกสาวคนเล็ก ที่กินนมไปได้สักแป๊บ หันไปดูอีกที แหวะนมเต็มเสื้อเลยค่ะ แต่อย่างที่บอกข้างต้น ลูกแม่เองก็ไม่อาการร้องไห้เจ็บปวด แถมพอแหวะนมปุ๊บ ดูมีความสุขมากขึ้นไปอีกค่ะ

ส่วนการอาเจียนนั้นมักเป็นเพียงอาการร่วมอาการหนึ่งที่เกิดจากการเจ็บป่วยของทารกดังนั้นทั่วไปแล้วอาการอาเจียนมักพบร่วมกับอาการอื่นๆเช่นมีไข้หรือท้องร่วงค่ะอาการอาเจียนมักจะเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการอาเจียนในทารก ? (1)

การอาเจียนเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องและกะบังลมหดตัวแรงในขณะที่ท้องกำลังคลายตัว ปฏิกิริยานี้จะถูกกระตุ้นโดยศูนย์ที่เกี่ยวข้องกับการอาเจียน หรือ ศูนย์อาเจียน (vomiting center) ในสมองหลังจากได้รับการกระตุ้น โดย:

สัญญาณที่บ่งชี้ว่าอาการแหวะนมของทารกผิดปกติ

ถึงแม้ว่าอาการแหวะนมจะดูเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณแม่พบสัญญาณเหล่านี้ นั่นแปลว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาอย่างอื่นมากกว่าการแหวะนมปกติ คุณแม่ควรติดต่อแพทย์เมื่อลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ค่ะ :

1. น้ำหนักลด

2. ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัวทั้งวัน

3. ของเหลวที่เกิดขึ้นจากอาการแหวะนมมีหลายสี เช่น สีแดงอมชมพู เหลือเข้ม หรือ สีเขียวน้ำดี หรือลักษณะของของเหลวนั้นดูผิดปกติ

เมื่ออาการผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้น แพทย์จะสามารถพิจารณาอาการและทำการทดสอบเพื่อตรวจสอบว่าลูกน้อยของคุณแม่เป็นโรคภาวะกรดไหลย้อน (GERD), อาเจียนขั้นรุนแรงหลังการให้นม (Pyloric Stenosis)หรือความเจ็บป่วยอื่นๆหากเป็นเช่นนั้นคุณหมอก็มักจะใช้ยาหรือมีการรักษาทางการแพทย์เพิ่มเติมค่ะ

สัญญาณที่บ่งชี้ว่าอาการแหวะนมของทารกผิดปกติ

เมื่อไหร่ที่คุณแม่ควรพิจารณาว่าอาการแหวะนมของทารกอันตราย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์? (1)

โดยปกติแล้วหากทารกมีอาการแหวะนมปกติทั่วไปคุณแม่ก็สามารถทำได้ที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องติดต่อแพทย์แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ก็อย่ารีรอที่จะพาลูกน้อยไปหาหมอค่ะ

เคล็ดลับที่ช่วยลดอาการแหวะนมในทารก (2)

1. ให้จับลูกท่าตั้งตรงให้มากขึ้น ติดตามการป้อนอาหารแต่ละครั้งโดยให้อยู่ในท่าตั้งตรงประมาณ 30 นาที และควรหลีกเลี่ยงการเล่นหรือใช้เปลโยกของทารกทันทีหลังกินอาหาร

2. หลีกเลี่ยงการให้อาหารที่มากเกินไป (overfeeding) การให้อาหารทารกในปริมาณน้อยลง แต่บ่อยขึ้นอาจช่วยลดอาการแหวะได้มากขึ้น

3. ใช้เวลาในการเรอให้ลูกน้อยมากขึ้น และทำการเรอให้พวกเขาบ่อย ๆ ระหว่างและหลังการให้นมแต่ละครั้ง ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปสะสมในท้องของทารกได้

4. ให้ทารกได้นอนหงาย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทารกเสียชีวิตอย่างกะทันหัน (SIDS) ไม่แนะนำให้คุณแม่วางลูกน้อยในท่าคว่ำ เพราะนั่นจะเป็นการกระตุ้นการแหวะนม

5. ทดลองรับประทานอาหารของคุณแม่เอง หากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การที่คุณแม่เลือกรับประทานอาหารที่ลดความเสี่ยงต่อการแหวะนมของลูกน้อย เช่นผลิตภัณฑ์จากนม ออกจากอาหารของคุณแม่ได้ ก็จะช่วยให้ลดอัตราการเกิดการแหวะนมได้มากขึ้นค่ะ

ให้ทารกได้นอนหงาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนแรก ๆ ของทารกน้อย การอาเจียนอาจร้ายแรงแค่ในช่วงที่ทารกมีการเจ็บป่วย หรือมีความไวต่อภาวะการขาดน้ำเป็นพิเศษ แต่ไม่ว่าลูกจะมีอาการแหวะนมหรืออาเจียน สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องคอยดูแลเพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณแม่มีน้ำอย่างเพียงพอขณะไม่สบาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของลูกน้อยเองค่ะ นอกจากนี้ หากว่า…การแหวะนมที่เกิดขึ้นกับทารก ไม่ได้เป็นปัญหาหรืออุปสรรคให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว เพราะเด็กหลายๆ คนที่ยังคงเล่นได้ มีความสุข ไม่งอแง แถมน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นเป็นปกติเมื่อมีอาการแหวะนม คุณแม่ก็คลายความกังวลไปได้เลยค่ะ หวังว่าเคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่คลายข้อสงสัยและความกังวลใจในอาการแหวะนมของทารกไปได้ไม่มากก็น้อย และแม่หวังอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่ทุกท่านนะคะ


Resources:

(1) Why Babies Spit Up
(2) Spitting up in babies: What’s normal, what’s not
(3) Is All This Baby Spit-Up Normal?