Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home การเลี้ยงลูก แรกเกิดถึงขวบปีแรก การขับถ่าย

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

Arrani by Arrani
February 5, 2021
in การขับถ่าย, การเลี้ยงลูก, แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Reading Time: 1min read
0
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

0
SHARES
1.4k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

การเลี้ยงเด็กวัยแรกเกิดถือว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับครอบครัวที่เพิ่งมีลูกคนแรกค่ะ คุณพ่อคุณแม่ต้องเผชิญปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การนอนสะดุ้งผวาของลูก การสะอึก รวมไปถึงการขับถ่าย คุณแม่หลาย ๆ คนที่ให้นมแม่หรือนมผงแก่ทารก อาจจะรู้ว่าในแต่ละวันทารกตัวน้อยของคุณแม่รับประทานนมในปริมาณเท่าไหร่ และบ่อยแค่ไหน แต่เคยสังเกตไหมคะว่า ในแต่ละวันทารกน้อยถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน? เพราะอะไรถึงต้องใส่ใจในเรื่องการถ่ายอุจจาระของทารก นั่นเป็นเพราะว่าการถ่ายอุจจาระของทารกสามารถบ่งบอกได้ถึงปัจจัยหลาย ๆ ประการ อาทิเช่น ทารกกินนมเพียงพอหรือไม่ สุขภาพร่างกายมีปัญหาอะไรมั้ย หรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตได้จากการขับถ่ายอุจจาระของทารกน้อยนั่นเองค่ะ มันอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องสนุกซักเท่าไหร่ แต่เชื่อเถอะคะว่า การตรวจสอบอุจจาระในผ้าอ้อมของทารกแต่ละครั้งนั้น เป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการตรวจสุขภาพลูกน้อย (1)

การเคลื่อนไหวของลำไส้ หรือ การขับถ่ายโดยเฉพาะอุจจาระ หรือภาษาอังกฤษทางการแพทย์ก็ คือ “Bowel Movement” ของทารกนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งสีและความสม่ำเสมอในการถ่าย แม้ในช่วงสองถึงสามวันแรกหลังคลอด สิ่งสำคัญคือต้องติดตามการเคลื่อนไหวของลำไส้ของทารก หรือการถ่ายอุจจาระอย่างสม่ำเสมอ และสิ่งที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ (2)

1. สีของอุจจาระ

การขับถ่ายอุจจาระครั้งแรกของทารกแรกเกิดนั้น มักจะเป็นสีดำหรือสีเขียวเข้มและมีลักษณะที่เหนียว หรือเราเรียกว่า “Meconium” หลังจากนั้นไม่กี่วัน อุจจาระก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียว อุจจาระของทารกที่กินนมแม่จะมีลักษณะเป็นสีเหลืองมัสตาร์ด มีอนุภาคคล้ายกับเมล็ดพืช และจะไม่มีกลิ่น แต่สำหรับทารกที่กินนมผงมักจะมีอุจจาระที่มีสีแทนหรือออกน้ำตาลเข้มและมีกลิ่นหอมกว่า แต่ก็อาจจะมีนมผงสำหรับทารกบางสูตรที่สามารถทำให้ลูกน้อยของคุณแม่มีอุจจาระสีเขียวเข้มได้ หากคุณแม่เปลี่ยนจากการให้นมแม่เป็นการให้นมผงแทน จะพบว่าอุจจาระของลูกน้อยคุณแม่จะมีสีที่เข้มขึ้นและเหมือนแป้ง(1)

2. ลักษณะของอุจจาระ

จนกว่าทารกน้อยจะเริ่มรับประทานอาหารเสริม คุณแม่จึงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตว่าทารกมีการขับถ่ายอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ บางครั้ง และลักษณะของอุจจาระของทารกมีลักษณะอย่างไร ซึ่งอุจจาระของทารกจะอยู่ในระดับที่นุ่มมาก ๆ จนไปถึงลักษณะที่แน่นขึ้นมาหน่อยแต่ไม่มาก และบางครั้งอาจมีลักษณะเหลว หากทารกกินนมผง มักจะมีอุจจาระที่มีสีน้ำตาลเข้มหรือสีเหลือง แต่มีความแน่นกว่าทารกที่กินนมแม่ ไม่ว่าลูกน้อยของคุณจะกินนมแม่หรือนมผง หากอุจจาระมีลักษณะแหละหรือแห้งมาก นั่นอาจเป็นสัญญาณของการขาดน้ำค่ะ

3. ความถี่ ลูกควรอึบ่อยแค่ไหน

คุณแม่อาจจะแปลกใจกับจำนวนผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดที่ต้องใช้ทุกวัน ทารกแรกเกิดหลายคนมีการขับถ่ายอุจจาระอย่างน้อย 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน ในช่วงปลายสัปดาห์แรก ทารกน้อยอาจจะถ่ายอุจจาระได้มากถึง 5 – 10 ครั้งต่อวัน ทารกอาจจะถ่ายเหลวหลังกินนมแต่ละครั้งซึ่งเป็นเรื่องปกติ และการถ่ายอุจจาระของลูกจะลดลงเมื่อโตเต็มที่ในช่วงเดือนแรก ซึ่งทารกอายุ 3 – 4 สัปดาห์ อาจจะไม่ได้มีการขับถ่ายทุกวัน โดยปกติจะไม่เป็นปัญหาตราบใดที่ลูกน้อยของคุณอุจจาระไม่แข็ง ยังรู้สึกสบายตัว เติบโตและแข็งแรงดี(3)

คุณแม่อาจจะแปลกใจกับจำนวนผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดที่ต้องใช้ทุกวัน
คุณแม่อาจจะแปลกใจกับจำนวนผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดที่ต้องใช้ทุกวัน

เมื่อลูกน้อยเติบโต การถ่ายอุจจาระจะเปลี่ยนไปอย่างไร?

เมื่อทารกเริ่มเติบโตขึ้นและมีการเริ่มรับประทานอาหารเสริม คุณแม่จะสังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของอุจจาระของทารกอย่างเห็นได้ชัด แน่นอนว่าตอนที่ทารกได้กินแค่นมแม่หรือนมผงนั้น อุจจาระของพวกเขาอาจจะมีลักษณะนุ่ม ๆ จนไปถึงลักษณะที่แน่นขึ้นมาหน่อย และมีลักษณะเหลว แต่เมื่อคุณแม่เริ่มให้อาหารเสริมกับพวกเขา จะเห็นได้ได้ค่ะว่าอุจจาระของพวกเขาจะมีลักษณะที่แน่นขึ้นและอาจมีกลิ่นแรงด้วยค่ะ แน่นอนค่ะว่าคุณแม่เปิดผ้าอ้อมมาปุ๊บ อาจจะเห็นเป็นชิ้นส่วนของอาหารในอุจจาระของพวกเขาได้ นอกจากนี้ยังมีสีของอุจจาระที่เปลี่ยนไป และอาจสร้างความกังวลใจให้คุณแม่ แต่การเปลี่ยนสีของอุจจาระส่วนใหญ่เกิดจากสีจากอาหารหรือสารปรุงแต่งในอาหารที่พวกเขารับประทานเข้าไปเพียงเท่านั้นค่ะ ไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง เมื่อคุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนสีของอุจจาระลูก ก็จะนึกได้ว่าลูกรับประทานอะไรเข้าไปบ้าง อุจจาระถึงมีสีเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น

  • สีน้ำตาล สีแทน สีเหลือง และ สีเขียว ล้วนเป็นสีปกติสำหรับอุจจาระของทารก อุจจาระสีเขียวที่เกิดขึ้น อาจมาจากผักสีเขียวนั่นเองค่ะ
  • สีดำหรือสีแดงอาจจะหมายถึงเลือดออกในลำไส้ ซึ่งสร้างความกังวลใจให้แม่ไม่น้อย แต่สีแดงนั้นอาจจะเกิดจากหัวบีทรูท หรือน้ำมะเขือเทศ หรือแก้วมังกรสีแดงก็ได้ค่ะ
  • สีขาว อาจจะหมายถึงปัญหาเกี่ยวกับตับ แต่อาจจะเกิดขึ้นจากยาหรืออาหารที่ทำจากนมเท่านั้นค่ะ

อุจจาระของลูกแบบไหนเรียกว่าผิดปกติ(3)

ผ้าอ้อมลูกที่มีอุจจาระอยู่ จะเป็นสิ่งที่บอกถึงสุขภาพลูกน้อยได้ค่ะ เนื่องจากอุจจาระของทารกมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเมื่อลูกเติบโต ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าลูกน้อยของคุณแม่อาจมีปัญหาอื่น ๆ หรือไม่ โดยทั่วไป:

  • อุจจาระแข็งหรือแห้งอาจหมายความว่าลูกน้อยของคุณอาจจะได้รับของเหลวหรือน้ำไม่เพียงพอ หรือลูกน้อยอาจจะสูญเสียน้ำในร่างกายมากกว่าปกติเนื่องจากเป็นไข้หรือเจ็บป่วยอื่น ๆ
  • การเพิ่มขึ้นของจำนวนการขับถ่ายอุจจาระและถ่ายเหลวอาจเป็นสัญญาณของอาการท้องร่วง
  • อาการท้องร่วงอย่างรุนแรงนั้น อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาหารท้องร่วงมันเกิดจากเชื้อไวรัส อาการท้องร่วงอาจทำให้สูญเสียน้ำมากขึ้นด้วย
  • อาการท้องผูกทารกที่รับประทานอาหารเสริมอาจจะทำให้เกิดการท้องผูกได้ โดยเฉพาะถ้ากินอาหารเสริมมากจนเกินไป เช่น ธัญพืชซีเรียล หรือนมวัว ก่อนที่กระเพาะจะสามารถทำงานได้ดีขึ้นทำให้องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมาแนะนำเลยว่าไม่แนะนำให้ดื่มนมวัวสำหรับทารกที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือน (2)
อาการท้องร่วง
อาการท้องร่วง

เรื่องอึอึของลูก เมื่อไหร่ที่ควรพาลูกไปหาหมอทันที (3)

เมื่อการขับถ่ายอุจจาระที่คุณแม่สังเกตเห็นแล้วว่ามีความผิดปกติ ก็อย่านิ่งดูดายโทรหาแพทย์ของลูกหรือขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ อย่างรวดเร็ว หาก:

  1. ทารกน้อยมีอาการใหม่ ๆ ร่วมด้วย เช่น อาเจียน
  2. อุจจาระของทารก มีลักษณะที่:
    • สีแดงเข้มหรือมีเลือดออกมาก
    • สีดำมากกว่าปกติ (หากทารกน้อยผ่านช่วง meconium มาแล้ว)
    • สีขาวหรือสีเทา
  1. ทารกมีการขับถ่ายอุจจาระที่บ่อยเกินกว่าปกติ
  2. อุจจาระของทารกมีมูกหรือน้ำในปริมาณมาก
  3. อุจจาระของทารกแข็งหรือมีการเบ่งอุจจาระ

นอกจากนี้ เนื่องจากปกติแล้วอุจจาระของทารกจะนิ่มและเหลวเล็กน้อย จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบอกว่าเมื่อไหร่ทารกจะมีอาการท้องเสียเล็กน้อย สัญญาณหลัก คือ จำนวนการถ่ายอุจจาระที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันและอุจจาระเป็นน้ำ อาการท้องเสียอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในลำไส้หรืออาจเกิดจากการที่คุณแม่ลองเปลี่ยนอาหารหรือนมสูตรอื่นให้กับทารก หากทารกที่กินนมแม่มีอาการท้องร่วง อาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารของคุณแม่ได้ค่ะ ความกังวลหลักเกี่ยวกับอาการท้องร่วงคือเป็นไปได้มากเลยค่ะที่ทารกอาจเกิดภาวะขาดน้ำได้

หากลูกมีไข้และทารกของคุณแม่อายุน้อยกว่า 2 เดือน คุณแม่ควรติดต่อคุณหมอทันทีนะคะ หากทารกอายุเกิน 2 เดือนและมีไข้นานกว่าหนึ่งวัน ให้คุณแม่ตรวจปัสสาวะและอุณหภูมิทางทวารหนักของทารกและปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าทารกยังคงกินนมได้ แต่หากทารกทีอายุเพียง 3 – 6 สัปดาห์ ทารกที่กินนมแม่บางคนอาจจะมีการขับถ่ายเพียงสัปดาห์ละครั้งซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะน้ำนมแม่ปล่อยของเสียออกมาน้อยมากที่จะผ่านลงสู่ระบบย่อยอาหารของทารก แต่ทารกที่กินนมผงนั้น จะมีการขับถ่ายอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หากทารกที่กินนมผง มีการขับถ่ายที่น้อยกว่านี้ อาจจะมีปัญหาเนื่องจากอุจจาระแข็งเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกได้ ซึ่งคุณแม่ก็ควรปรึกษาคุณหมอว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายของทารกไปในทิศทางไหนค่ะ (2)

เป็นไงกันบ้างคะ สำหรับเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่นำมาฝากคุณแม่มือใหม่ที่กำลังรู้สึกกังวลใจว่า เอ๊ะ! ลูกน้อยของเรามีความปกติดีใช่หรือมั้ย การเช็คอุจจาระลูกน้อยก็ช่วยให้คุณแม่สามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงและสิ่งปิดปกติได้ไม่มากก็น้อย เห็นมั้ยล่ะคะว่าอุจจาระลูกมีดีกว่าที่คิดจริง ๆ !! อย่าลืมหมั่นสังเกตผ้าอ้อมของลูกอย่างสม่ำเสมอนะคะคุณแม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของเจ้าตัวน้อยนั่นเองค่ะ


Resources :

(1). Poos and wees

(2). What are some of the basics of infant health?

(3). Bowel Movements in Babies

ShareTweet
Previous Post

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

Next Post

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด

เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมคุณแม่ หลังคลอด – ทำได้เอง

March 18, 2021
298
ข้อดีของจุกหลอก

จุกหลอก มีดีอย่างไร ในเด็กต่ำกว่า 1 ปี

March 17, 2021
478
พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

February 17, 2021
159
วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

February 13, 2021
344
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
1.4k
เคล็ดลับการให้นมแม่ ฉบับมนุษย์แม่ออฟฟิศ (วันลาคลอดจะหมดแล้ว วางแผนการให้นมแม่กันเถอะ)

เคล็ดลับการให้นมแม่ ฉบับมนุษย์แม่ออฟฟิศ

February 8, 2021
385
Next Post
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

  • Trending
  • Comments
  • Latest
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In