เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมคุณแม่ หลังคลอด – ทำได้เอง

วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด

คุณแม่หลาย ๆ ท่านที่ประสบปัญหาน้ำนมยังไม่มาหลังคลอด หรือ รู้สึกว่าน้ำนมไม่เพียงพอสำหรับลูกน้อยของคุณอยู่หรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบเพื่อเรียนรู้วิธีเพิ่มการผลิตน้ำนมกันค่ะ ซึ่งวิธีการที่จะแนะนำนั้น ก็เป็นวิธีที่แม่ ๆ ปฏิบัติกันมาเป็นเวลากว่าหลายศตวรรษและใช้ได้ผลกันเสมอมา เพราะฉะนั้นคุณแม่หลาย ๆ คนที่กำลังกังวลเกี่ยวกับการผลิตน้ำนมไม่เพียงพอ ก็อย่าเพิ่งหยุดหรือล้มเลิกการให้นมแม่นะคะ นำหลักการเหล่านี้ไปใช้ รับรองว่าคุณแม่จะมีน้ำนมให้ลูกน้อยได้ แถมอาจมีน้ำนมเก็บเป็นสตอคไว้ให้ลูกทานนมแม่เมื่อเราไว้กลับไปทำงานอีกด้วยล่ะค่ะ

คุณแม่ผลิตน้ำนมเพียงพอ หรือไม่? (1)

ขั้นตอนแรกเลยนะคะ คุณแม่ต้องมองหาสัญญาณเหล่านี้จากลูกน้อยก่อนค่ะ ว่าคุณมีน้ำนมเพียงพอสำหรับพวกเขาหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ใส่ใจกับจำนวนผ้าอ้อมที่เปียก อุจจาระที่ขับถ่าย พัฒนาการของลูกและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของลูกน้อย

สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรกังวล:

1. หน้าอกของคุณแม่

คุณแม่อาจจะกังวลกับหน้าอกเกินไป ไม่ได้หมายถึงว่า กลัวจะมีการหย่อนคล้อยหรือเสียรูปทรงจนไม่อยากให้นมลูกนะคะ แต่แม่หมายถึงการที่คุณแม่ชอบคิดไปเองหรือกังวลแล้วว่า เอ๊ะ!! หากหน้าอกรู้สึกนุ่มนิ่ม ไม่คัดเต้า นั่นแสดงว่าเราอาจจะมีปริมาณน้ำนมที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อยหรือเปล่า? เพราะปริมาณน้ำนมที่คุณแม่ผลิตได้นั้นจะปรับให้เข้ากับความต้องการของลูกน้อยอยู่แล้วค่ะ

2. ลูกน้อยดูดนมในระยะเวลาแค่สั้น ๆ

เด็กแต่ละคนอาจมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน และความเร็วในการดูดนมที่ไม่เหมือนกัน บางคนอาจดูดนมช้า บางคนอาจดูดนมได้เร็ว อย่างเช่นทารกน้อยบางคนอาจใช้เวลาในการดูดนมในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ 5 นาทีในแต่ละเต้า คุณแม่เลยอาจกังวลว่าลูกอาจได้รับนมไม่เพียงพอหรือเปล่าน๊า?

ลูกน้อยดูดนมในระยะเวลาแค่สั้น ๆ

3. ความถี่ในการดูดนมที่มากขึ้น

คุณแม่ที่กังวลว่า เอ๊ะ!! เพิ่งจะให้นมลูกไปยังไม่ถึงชั่วโมง ทำไมลูกถึงส่งสัญญาณจะดูดนมอีกแล้วล่ะเนี่ย และความถี่ในการดูดนมที่มากขึ้นนี้เอง ทำให้คุณแม่อาจกังวลว่าลูกอาจไม่อื่นในการดูดนมจากรอบก่อน ๆ เลยขอดูดแล้วดูดอีก ทำให้คุณแม่ต้องให้นมบ่อยขึ้นและนานขึ้น แต่จริง ๆ แล้วสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากการเจริญเติบโตของทารกแบบพรุ่งพรวดรวดเร็ว หรือ growth spurt นั่นเองค่ะ

4. ปั๊มนมได้น้อยจัง

คุณแม่หลาย ๆ คนที่ลองปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มมือ เครื่องปั๊มไฟฟ้า หรือการปั๊มด้วยมือก็ดี แต่รู้สึกเหมือนว่าการผลิตนมแต่ละครั้งที่ปั๊มจะมีน้อยซะเหลือเกิน จะบอกเลยค่ะว่า คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเครื่องจักรที่ใหญ่และมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการรีดนมแม่ออกมาก็คือเจ้าตัวน้อยของคุณแม่นี่เองค่ะ เพราะฉะนั้นคลายความกังวลว่าทำไมเราปั๊มนมได้น้อยจัง แล้วจะเพียงพอต่อลูกน้อยมั้ยล่ะเนี่ย? เพียงพออย่างแน่นอนจ้า

ปั๊มนมได้น้อยจัง

คุณแม่ควรผลิตน้ำนมมากแค่ไหน ถึงเรียกว่าปกติ (2)

แน่นอนค่ะว่าอัตราการผลิตน้ำนมของคุณแม่แต่ละท่านอาจจะแตกต่างกันไป อีกทั้งยังมีความแตกต่างกันไปตลอดทั้งวันอีกด้วย โดยปกติปริมาณน้ำนมจะมากที่สุดในตอนเช้า และจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อแต่ละวันดำเนินไป นอกจากนี้คุณแม่จะสังเกตได้ว่าปริมาณน้ำนมเมื่อตอนหลังคลอดใหม่ ๆ จะมีปริมาณที่แตกต่างกันไป โดยคุณแม่จะเห็นถึงการเพิ่มขึ้นทีละน้อย ๆ ค่ะ ลองไปดูปริมาณน้ำนมโดยประมาณที่คุณแม่จะสามารถผลิตได้กันเลยค่ะ

ค่าเฉลี่ยทั่วไปโดยประมาณ

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่มีปริมาณน้ำนมต่ำ (1)(2)

เคล็ดลับ (แต่ไม่ลับ) ในการเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ (2)

การที่คุณแม่พยายามทำตัวให้ผ่อนคลายที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่ทำให้คุณแม่ที่กำลังให้นมลูก หรือปั๊มนมมีปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ค่ะ:

  1. การกอดลูกน้อยหรือเล่นดนตรีเพื่อความผ่อนคลายในขณะให้นมหรือปั๊มนม ซึ่งอาจช่วยลดความเครียดได้
  2. การแสดงออกถึงความรัก ความเมตตาของคุณแม่ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส หรือการกอด ทั้งในขณะให้นมลูกก็ดี หรือหลังการให้นมก็ดี จะส่งผลให้มีการผลิตน้ำนมที่มากขึ้น
  3. การพักผ่อนและโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ ซึ่งนั่นก็หมายถึงการที่คุณแม่ได้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพทั้งสามมื้อในแต่ละวัน รวมถึงของว่างที่มีประโยชน์ด้วยนะคะ
  4. การดื่มน้ำที่เพียงพอ ซึ่งโดยปกติแล้วคุณแม่ที่ให้นมลูกควรดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 2 ลิตรต่อวัน
  5. เข้านอนเร็วให้เร็วขึ้น เพราะอย่าลืมว่าคุณแม่ต้องมีชั่วโมงกลางดึกที่ต้องตื่นมาให้นมเจ้าตัวน้อย
  6. พยายามลดระดับคาเฟอีนให้น้อยงลง
  7. อย่าอดอาหารในขณะที่กำลังให้นมลูก เป็นที่ทราบกันดีว่าระดับไขมันในนมนั้นอาจไม่เพียงพอ
  8. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือพยายามลดปริมาณบุหรี่ที่สูบในแต่ละวัน อย่าให้นมลูกหรือปั๊มนมในขณะที่สูบบุหรี่หรือหลังจากสูบบุหรี่
  9. ในขณะที่คุณแม่เพิ่งฟื้นตัวจากการคลอด การกอดลูกน้อยของคุณแบบ skin to skin จะช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น การสวมเสื้อผ้าที่ช่วยให้คุณแม่สามารถปลดกระดุมเสื้อ หรือ ถอดเสื้อชั้นในได้สะดวกนั้น จะช่วยให้ลูกน้อยได้รับประโยชน์จากการสัมผัสกับตัวแม่ เช่น การกอดลูกน้อยไว้ใกล้หน้าอก ซึ่งร่างกายของคุณแม่จะตอบสนองในเชิงบวกต่อการอุ้มลูกน้อยไว้ใกล้ ๆ ในแต่ละครั้ง และนั่นจะช่วยให้การผลิตน้ำนมของคุณแม่เป็นไปอย่างราบรื่นนั่นเอง
  10. หากคุณแม่ต้องการปั๊มนม ให้ปั๊มนมแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 10 นาทีในแต่ละเต้า และรออีก 10 นาทีเพื่อจะทำการปั๊มอีกครั้งจนกว่าน้ำนมจะหยุดไหล แต่ระยะเวลาในการปั๊มแต่ละครั้งไม่ควรนานเกิน 30 นาที (ดูเพิ่มเติม วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่)
  11. การใช้มือช่วยระบายน้ำนมจากเต้านมเพิ่มเติมหลังจากการปั๊ม ก็ช่วยให้การกระตุ้นการผลิตน้ำนมได้มากขึ้นด้วย ควรทำอย่างน้อย 8-10 ครั้งใน 24 ชั่วโมง การประคบอุ่นและนวดหน้าอกจะช่วยให้เต้านมของคุณแม่คลายความเจ็บปวด อีกทั้งยังช่วยบรรเทาการคัดของเต้านมได้
  12. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณแม่มีเครื่องปั๊มนมที่ออกแบบมาสำหรับคุณแม่ที่กำลังผลิตหรือดูแลปริมาณน้ำนมโดยการให้นมแก่ทารก
  13. การมีเครื่องปั๊มไฟฟ้าที่สามารถปั๊มได้ทั้งสองเต้าในเวลาเดียวกัน จะมีประสิทธิภาพในการผลิตน้ำนมได้มากกว่า หากคุณแม่ต้องการสร้างปริมาณน้ำนม หรือทำนมสตอคไว้ให้กับลูกน้อยในอนาคต
การกอดลูกน้อยหรือเล่นดนตรีเพื่อความผ่อนคลายในขณะให้นมหรือปั๊มนม ซึ่งอาจช่วยลดความเครียดได้

ในสองสามวันแรก คุณแม่จะมีน้ำนมเหลือง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่อาจจะออกมาเพียงไม่กี่หยด และน้ำนมจะเริ่มมามากขึ้นประมาณวันที่สาม หรืออาจจะเร็วกว่านั้นแล้วขึ้นอยู่กับคุณแม่แต่ละท่านค่ะ

แต่ไม่ว่าคุณแม่จะผลิตน้ำนมมากแค่ไหน น้ำนมทุกหยดก็ล้วนมีคุณค่ากับลูกน้อยที่จะได้รับประโยชน์ทางโภชนาการและภูมิคุ้มกัน จริงมั้ยล่ะคะ?


Resources:
(1) Low Milk Supply
(2) Increasing your breast milk supply