Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home การเลี้ยงลูก

วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

Arrani by Arrani
February 13, 2021
in การเลี้ยงลูก, แรกเกิดถึงขวบปีแรก, ให้นมลูก
Reading Time: 2min read
0
วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

0
SHARES
344
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

เอาใจสาวกแม่ ๆ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่กันค่ะ ต่อให้คุณแม่หลาย ๆ ท่านที่จำเป็นจะต้องกลับไปทำงาน แต่ภารกิจการให้นมลูกยังต้องดำเนินต่อไป วันนี้แม่เลยมีเคล็ดลับดี ๆ ที่คุณแม่จะได้เก็บน้ำนมแม่ที่ได้จากการปั๊มนมไม่ว่าจะใช้เครื่องปั๊มนมก็ดี หรือใช้มือในการปั๊มก็ดี รับรองว่าคุณแม่จะได้นำคำแนะนำดี ๆ ที่แม่คัดสรรมาให้เพื่อที่คุณแม่จะได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตราบเท่าที่คุณแม่ต้องการเลยล่ะค่ะ

สำหรับคุณแม่ส่วนใหญ่ที่เลือกการเลี้ยงลูกนมแม่จากเต้าอาจเป็นเพราะวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะแม่เองก็ให้นมลูกจากเต้าเช่นกันค่ะ เพราะไปไหน มาไหน แม่ก็ไม่ต้องคอยกังวลว่าเจ้าตัวน้อยจะงอแงเพราะหิว หากต้องให้นมลูกจากเต้าในที่สาธารณะ ก็แค่มีตัวช่วยง่าย ๆ ก็คือผ้าคลุมขณะให้นมลูก เพียงเท่านั้นเจ้าตัวเล็กก็อิ่มหนำสำราญแล้วใช่มั้ยล่ะคะ อีกทั้งยังรวดเร็วทันใจทั้งคุณแม่ทั้งคุณลูกอีกด้วย แต่ แต่ แต่ คุณแม่อีกหลายท่านก็ไม่สามารถจะให้นมลูกจากเต้าได้ นั่นอาจเป็นเพราะสาเหตุหลายประการ เช่น (1)

ทำไมต้องปั้มนม – คุณแม่สายปั้ม

  • ลูกน้อยของคุณแม่คลอดก่อนกำหนด หรือ ไม่สามารถดูดนมได้ดี
  • ลูกน้อยของคุณแม่อาจจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาล และคุณแม่ก็ไม่สามารถอยู่ที่นั่นเพื่อให้นมลูกได้ทุกมื้อ
  • อาจจะเป็นคุณแม่เองที่ต้องพักฟื้นหลังคลอดที่โรงพยาบาล จนไม่สามารถให้นมทารกได้ทุกครั้ง
  • คุณแม่จำเป็นต้องกลับไปทำงาน กลับไปเรียนต่อ หรือ ภาระผูกพันอื่น ๆ
  • คุณแม่อาจจำเป็นต้องฝากลูกน้อยให้พี่เลี้ยง จึงจำเป็นต้องป้อนนมขวดแทน
  • บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกถึงการคัดเต้าและรู้สึกไม่สะดวกสบายในการให้นมจากเต้า เป็นต้น

ซึ่งคุณแม่จำนวนไม่น้อยเลยค่ะ ที่อยากจะให้เจ้าตัวเล็กได้รับนมแม่ เพราะนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย อีกทั้งยังช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันของลูกน้อย จึงทำให้คุณแม่บางคนชอบที่จะปั๊มนมเก็บไว้ แล้วนำใส่ช่องแช่แข็ง ในกรณีที่ต้องออกไปทำธุระ หรือ กรณีฉุกเฉินต่าง ๆ ซึ่งก็จะทำให้ลูกน้อยได้รับประทานนมแม่ได้

แล้วจะทำอย่างไรเมื่อคุณแม่อยากมีนมแม่เก็บไว้ให้เจ้าตัวเล็ก มาดูคำแนะนำดี ๆ ที่คุณแม่สามารถนำไปใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดน้ำนมเพื่อที่จะได้ทำสตอคไว้ให้ลูกกันค่ะ ตัวอย่างเช่น: (1)

คำแนะนำในการปั้มนมสตอคเก็บไว้ให้ลูกกิน

1. พยายามผ่อนคลายอย่างมีสติ โดยใช้วิธีใดก็ได้ที่เหมาะกับคุณ อย่างแม่เอง จะพยายามเลือกการกระตุ้นให้เกิดน้ำนมโดยการอยู่ในบริเวณที่เงียบสงบ แต่อบอุ่น คือถ้าหันไปดูรอบ ๆ ก็ยังรู้สึกว่าไม่น่ากลัวเหมือนอยู่ในมิติลี้ลับอะไรทำนองนี้ค่ะ ที่สำคัญควรเลือกสถานที่ที่ห่างไกลจากสิ่งรบกวน ในขณะปั๊มนมนั้น ให้คุณแม่หายใจเข้าช้า ๆ และลึก ๆ อย่างแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มไฟฟ้า ก็จะสะดวกหน่อย ซึ่งสามารถนั่งรับประทานอาหารไป ปั๊มนมไปได้ด้วยค่ะ

2. คุณแม่หลาย ๆ ท่านที่ก่อนจะปั๊มนม แนะนำให้ลองดื่มน้ำอุ่น หรือ จะเป็นซุปสักถ้วยก็ดีมาก ๆ เลยค่ะ

3. ฟังเพลงเบา เปิดเพลงคลอไปก่อนจะปั๊มนม อันนี้ช่วยให้ผ่อนคลายได้จริง ๆ ค่ะ

4. การปั๊มนมหลังการอาบน้ำอุ่น ๆ ก็ดีไม่น้อยเลยค่ะ หรือจะลองใช้ผ้าอุ่น ๆ ประคบเต้านม ก็เป็นการกระตุ้นน้ำนมให้ไหลมาเทมา แถมยังรู้สึกคลายความเจ็บปวดเนื่องจากการคัดเต้านมอีกด้วย

5. นวดเต้านมเบา ๆ โดยลูบลงไปที่หัวนมและค่อย ๆ คลึงหัวนมระหว่างนิ้วของคุณ แม้ว่าคุณแม่จะไม่สามารถดันน้ำนมออกจากเต้าได้ด้วยการนวดอย่างทันทีทันใจ แต่วิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่ได้กระตุ้นน้ำนมได้ดีเลยค่ะ

6. การคิดถึงลูกน้อยของคุณแม่ค่ะ ให้คุณแม่ได้คิดว่านมแม่สำคัญกับลูกมากแค่ไหน และเหตุใดจึงจำเป็นต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การคิดถึงหน้าเจ้าตัวน้อยก่อนการปั๊มนม ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นน้ำนมเท่านั้นนะคะ แต่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายและอบอุ่นใจด้วยค่ะ จริงมั้ยเอ๋ย?

7. การมีคนรอบข้าง หรือหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่จะคอยสนับสนุนคุณแม่อยู่ตลอดนั้น จะทำให้คุณแม่ได้มีกำลังใจและได้รับคำแนะนำต่าง ๆ โดยที่คุณแม่ไม่ต้องลองผิดลองถูกเอง แถมยังช่วยให้คุณแม่ลดความตึงเครียด และสามารถผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพให้เจ้าตัวน้อยได้ค่ะ

บางครั้งในขณะที่คุณแม่กำลังกระตุ้นน้ำนมให้ไหลออกมานั้น น้ำนมอาจจะไม่ได้หลังมาในทันทีทันใด ซึ่งก็อาจต้องใช้เวลาสักครู่เพื่อให้น้ำนมของคุณแม่เริ่มไหล พยายามเลือกช่วงเวลาที่คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย การมีลูกน้อย หรือ รูปถ่ายของลูกอยู่ใกล้ ๆ ก็อาจช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ ซึ่งคุณแม่สามารถทำการปั๊มนมได้ 2 วิธี ดังต่อไปนี้ค่ะ:

1. การปั๊มนมด้วยมือ (2)

คุณแม่บางคนพบว่าการรีดนมด้วยมือทำได้ง่ายมาก โดยเฉพาะในช่วงสองสามวันแรกหรือสัปดาห์แรก ซึ่งแน่นอนว่าคุณไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปั๊มมือด้วยมือหรือไฟฟ้าเลยด้วยซ้ำ การปั๊มนมด้วยมือ จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้เองจากส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านม ซึ่งหากคุณแม่ที่มีท่อน้ำนมอุดตัน วิธีนี้ก็เป็นประโยชน์กับคุณแม่มากทีเดียวค่ะ อย่าลืมถือขวดนมหรือภาชนะที่ฆ่าเชื้อไว้แล้วใต้เต้านมเพื่อรองน้ำนมขณะไหลด้วยนะคะ

เคล็ดลับดี ๆ ในการปั๊มนมด้วยมือ

  • ก่อนเริ่มปั๊มนมด้วยมือ ให้คุณแม่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่น
  • เตรียมภาชนะที่สะอาดไว้ให้พร้อมสำหรับการเก็บน้ำนม
  • คุณแม่บางคนพบว่าการนวดเต้านมเบา ๆ ก่อนที่จะปั๊มนั้น จะทำให้น้ำนมไหลออกมาดีขึ้นและเร็วขึ้น โดยคุณแม่ใช้มือข้างที่ถนัดบีบเต้านมเป็นรูปตัว “C” โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้ง
  • บีบเบา ๆ โดยให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มืออยู่ห่างจากหัวนมไม่กี่เซนติเมตร อย่าบีบเฉพาะแค่ตรงหัวนม แต่ให้บีบเบา ๆ บริเวณลานนม เพื่อที่คุณแม่จะได้ไม่เจ็บขณะบีบ
  • ปล่อยแรงกดอย่างนุ่มนวล และทำซ้ำ ๆ สร้างจังหวะขณะบีบ แต่อย่าพยายามเคลื่อนไหวนิ้วไปรอบ ๆ ผิวหนัง
  • เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นน้ำนมหยดแรกที่เริ่มไหลแล้ว ถือเป็นสัญญาณให้คุณแม่เริ่มปั๊มน้ำนมออกมา เพราะจังหวะนี้แหละค่ะ ที่น้ำนมจะเริ่มหลั่งไหลออกมา
  • ถ้าน้ำนมไม่หยดสักที ให้ลองขยับนิ้วและหัวแม่มือเล็กน้อย แต่ยังคงหลีกเลี่ยงที่หัวนม ให้คุณแม่บีบบริเวณลานนมแต่ใกล้หัวนมของคุณแม่ขึ้นค่ะ
  • เมื่อการไหลาช้าลง ให้เลื่อนนิ้วไปที่ส่วนอื่น ๆ ของเต้านมแล้วทำซ้ำ
  • หากการไหลของน้ำนมช้าลงในเต้าที่กำลังปั๊มอยู่นั้น ให้คุณแม่เปลี่ยนไปปั๊มเต้านมอีกข้าง เปลี่ยนเต้าสลับไปเรื่อย ๆ จนน้ำนมเกลี้ยงเต้าค่ะ

2. การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊ม (2)

การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊ม
การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊ม

การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนมมี 2 ประเภท คือ แบบใช้มือ และ แบบไฟฟ้า เครื่องปั๊มนมจะแตกต่างกัน ซึ่งคุณแม่ก็สามารถเลือกให้เหมาะกับความต้องการ และ การใช้งานของคุณแม่เลยค่ะ อย่างเครื่องปั๊มด้วยมืออาจมีราคาถูกกว่า แต่อาจไม่เร็วเท่ากับเครื่องปั๊มไฟฟ้า จึงเป็นการดีหากคุณแม่จะขอคำปรึกษาจากคุณหมอหรือพยาบาล หรืออาจจะขอทางโรงพยาบาลที่สามารถให้คุณแม่ได้ทดลองใช้ก่อน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อก็ช่วยได้มากทีเดียวค่ะ สำหรับเครื่องปั๊มไฟฟ้าจะมีความแรงในการปั๊มหรือการดูดที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นนั้น ๆ ซึ่งคุณแม่ควรดูคู่มือการใช้และศึกษาอย่างละเอียดค่ะ เพราะบางครั้งหากคุณแม่ตั้งค่าความแรงในการปั๊มที่มากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดหัวนมเสียหายและเจ็บได้ค่ะ นอกจากนี้ ขนาดของเครื่องปั๊มนมที่วางบนเต้านมในแต่ละเครื่องนั้น อาจมีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรเลือกให้พอดีกับหัวนม และเมื่อปั๊มนมแล้ว จะไม่ทำให้เกิดรอยช้ำหรือเจ็บหัวนมค่ะ ที่สำคัญที่สุดที่คุณแม่ต้องพึงใส่ใจนั่นคือ ก่อนการใช้เครื่องปั๊มนมไม่ว่าจะแบบใช้มือหรือไฟฟ้า ตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่าปั๊มและภาชนะสำหรับเก็บน้ำนมนั้นสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อก่อนใช้งานนะคะ

การเลือกใช้วัสดุในการเก็บนมแม่หลังจากการปั๊มนม (3)

1. ใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่หรือภาชนะบรรจุอาหารที่สะอาด ที่สำคัญต้องมีฝาปิดแน่น ซึ่งจะทำมาจากแก้วหรือพลาสติกเพื่อเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ค่ะ

2. หลีกเลี่ยงขวดที่มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 7 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาชนะนั้นอาจทำจากพลาสติกที่มี BPA

3. ห้ามเก็บน้ำนมแม่ไว้ในขวดแบบใช้แล้วทิ้งหรือถุงพลาสติกที่ไม่ได้มีไว้สำหรับเก็บน้ำนม

การเก็บรักษาน้ำนมแม่ (2)

การเก็บรักษาน้ำนมแม่
การเก็บรักษาน้ำนมแม่

คุณแม่สามารถเก็บน้ำนมแม่ไว้ในภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือในถุงเก็บน้ำนมแม่ที่มีให้เลือกหลายรูปแบบได้เลยค่ะ ซึ่งคุณแม่สามารถเก็บน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยคำแนะนำดังนี้ค่ะ:

1. หากคุณแม่เก็บในตู้เย็น จะใช้ได้นานถึง 8 วันที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า (ซึ่งคุณแม่สามารถซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิตู้เย็นทางออนไลน์ได้ค่ะ) หากคุณไม่แน่ใจว่าอุณหภูมิของตู้เย็นจะสูงกว่า 4 องศาเซลเซียสหรือไม่ แนะนำให้ใช้ให้หมดภายใน 3 วัน

2. หากคุณแม่เก็บไว้ในช่องน้ำแข็งของตู้เย็น จะใช้ได้นานถึง 2 สัปดาห์

3. ถ้าคุณแม่มีช่องแช่แข็งหรือตู้แช่ที่มีอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า นมแม่ก็จะอยู่ได้นานถึง 6 เดือน แม่เห็นเพื่อน ๆ หลายคนที่ตัดสินใจซื้อตู้แช่ เพื่อจะได้ทำสตอคเก็บนมให้ลูกได้กินนมแม่นาน ๆ อีกทั้งยังมีพื้นที่เก็บได้เยอะขึ้นค่ะ

4. นมแม่ที่เย็นจากในตู้เย็น สามารถนำใส่ถุงหรือกระเป๋าเก็บความเย็น แล้วแพคน้ำแข็งไว้ข้างในนั้น สามารถเก็บได้นานถึง 24 ชั่วโมง

ทริคเล็ก ๆ ในการเก็บน้ำนมแม่:

หากคุณแม่กำลังคิดจะทำสตอคน้ำนมแม่ให้ลูกน้อยไว้ในตู้แช่แข็ง อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจค่ะว่าคุณแม่ได้ติดป้ายกำกับวันที่ไว้แล้วหรือยัง และการเก็บน้ำนมในปริมาณที่ไม่เยอะจนเกินไป ก็จะช่วยลดการใช้นมอย่างฟุ่มเฟือย หรือ เสียหายได้ค่ะ

การละลายน้ำนมแม่ที่แช่แข็ง (2)

วิธีที่ดีที่สุดคือ การละลายน้ำนมแม่ที่แช่แข็งอย่างช้า ๆ ในตู้เย็นก่อนที่จะให้ลูกน้อย หากคุณแม่จำเป็นต้องใช้ทันทีทันใด คุณแม่สามารถละลายน้ำแข็งได้โดยใส่ในภาชนะที่มีน้ำอุ่นหรือถือผ่านน้ำอุ่น เมื่อน้ำแข็งละลายแล้ว ให้เขย่าเบา ๆ หากน้ำนมมีการแยกชั้นกันอยู่ และใช้ให้หมดทันที อย่าแช่แข็งนมที่ละลายแล้วซ้ำนะคะ เมื่อลูกน้อยเริ่มดื่มนมจากขวดแล้ว ก็ควรใช้ภายใน 1 ชั่วโมงและหากเหลือ ก็ให้ทิ้งไปเลยค่ะ

การอุ่นนมแม่

คุณแม่สามารถป้อนนมจากตู้เย็นโดยตรงได้เลยค่ะหากลูกน้อยของคุณแม่ชอบที่จะดื่มแบบเย็น ๆ ชื่นใจ ๆ หรือคุณแม่สามารถอุ่นนมให้อยู่ในอุณหภูมิร่างกายโดยใส่ในขวดนม และนำลงไปอุ่นในภาชนะที่ใส่น้ำอุ่นอยู่ หรือ ถือไว้ให้น้ำอุ่นไหลผ่านสักระยะ

ข้อควรระวัง: อย่าใช้ไมโครเวฟเพื่อทำให้นมร้อนขึ้นหรือละลายน้ำแข็งนะคะ สิ่งนี้อาจจะทำให้เกิดจุดเดือดที่ร้อนจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้ปากของลูกน้อยไหม้ได้เลยล่ะค่ะ

เคล็ดลับอื่น ๆ กับการจัดเก็บน้ำนมแม่ (3)

  • อย่าเก็บน้ำนมแม่ไว้ที่ประตูตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง วิธีนี้จะช่วยป้องกันน้ำนมแม่จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดจากการเปิดปิดประตูตู้เย็นนั่นเองค่ะ
  • แช่แข็งนมแม่ในปริมาณเล็กน้อย 2 – 4 ออนซ์ หรือตามปริมาณที่คุณแม่จะให้นมลูกน้อยในแต่ละครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียนมแม่ที่ลูกอาจจะกินไม่หมด
  • เมื่อแช่แข็งน้ำนมแม่ ให้เว้นช่องว่างไว้ที่ด้านบนของภาชนะประมาณ 1 นิ้ว เนื่องจากน้ำนมแม่จะขยายตัวเมื่อนมแข็งตัว
  • หากคุณจะส่งมอบนมแม่ให้กับพี่เลี้ยง หรือคนดูแลลูกน้อย ให้คุณแม่ระบุชื่อลูกในภาชนะให้ชัดเจนและพูดคุยกับผู้ดูแลลูกน้อยของคุณเกี่ยวกับข้อกำหนดอื่น ๆ ที่อาจมีในการติดฉลาก เช่นวันที่และเวลาของการปั๊ม และแนะนำให้ใช้ในวันหรือเวลาที่คุณแม่ปั๊มก่อน หรือ first in first out ค่ะ

เป็นไงบ้างคะสำหรับคำแนะนำและเคล็ดลับต่าง ๆ เกี่ยวกับการเก็บน้ำนมแม่ ที่แม่นำมาฝากกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้คุณแม่ที่ตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กันนะคะ แต่อย่าลืมนะคะว่านอกจากโภชนาการเรื่องอาหารที่แม่ใส่ใจแล้ว ในเรื่องของสุขอนามัย และการทำความสะอาดฆ่าเชื้อและจัดเก็บอุปกรณ์ปั๊ม ขวดนม หรือ อุปกรณ์ให้นมอื่น ๆ อย่างระมัดระวัง ก็ช่วยปกป้องให้น้ำนมของแม่จากสิ่งปนเปื้อน ทำให้ลูกมีน้ำนมที่ทรงคุณค่าทั้งสารอาหารและปลอดภัยด้วยค่ะ


อ้างอิง 
(1) Expressing and storing breastmilk
(2) Expressing and storing breast milk
(3) Proper Storage and Preparation of Breast Milk

ShareTweet
Previous Post

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

Next Post

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด

เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมคุณแม่ หลังคลอด – ทำได้เอง

March 18, 2021
298
ข้อดีของจุกหลอก

จุกหลอก มีดีอย่างไร ในเด็กต่ำกว่า 1 ปี

March 17, 2021
478
พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

February 17, 2021
159
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
1.4k
เคล็ดลับการให้นมแม่ ฉบับมนุษย์แม่ออฟฟิศ (วันลาคลอดจะหมดแล้ว วางแผนการให้นมแม่กันเถอะ)

เคล็ดลับการให้นมแม่ ฉบับมนุษย์แม่ออฟฟิศ

February 8, 2021
385
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
762
Next Post
พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

  • Trending
  • Comments
  • Latest
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In