Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home ตั้งครรภ์ 1 - 13 สัปดาห์

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง เวียนหัว อ้วก อาเจียนตอนเช้า

Arrani by Arrani
April 13, 2021
in 1 - 13 สัปดาห์, คุณแม่, คุณแม่ตั้งครรภ์, ตั้งครรภ์, ไตรมาส 1
Reading Time: 1min read
0
แก้อาการแพ้ท้อง เวียนหัว อ้วก อาเจียนตอนเช้า

แก้อาการแพ้ท้อง เวียนหัว อ้วก อาเจียนตอนเช้า

0
SHARES
317
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

เมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์เคยมีอาการแพ้ท้องแบบแม่มั้ยคะ? อาการคลื่นไส้ อาเจียนในการตั้งครรภ์หรือที่เรียกว่า อาการแพ้ท้อง ที่ดูจะเป็นเรื่องปกติมาก ๆ ในการตั้งครรภ์ในช่วงแรก ๆ แต่ก็มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวันไม่น้อยเลยทีเดียว บางคนอาจรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนทั้งกลางวันและกลางคืน หรือบางคนก็รู้สึกแพ้ท้องตลอดทั้งวันไม่หยุดไม่หย่อน อาการแพ้ท้องจึงเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์กับว่าที่คุณแม่หลาย ๆ คน เพราะไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบตัวเราเองในชีวิตประจำวัน ยังทำให้ลูกน้อยของคุณมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วยนะคะ (1) แต่อาการแพ้ท้องมักจะหายไปภายในสัปดาห์ที่ 16 -20 ของการตั้งครรภ์

ระดับของการแพ้ท้อง

ว่าที่คุณแม่บางคนอาจมีอาการเจ็บป่วยจากการตั้งครรภ์ในรูปแบบรุนแรงที่เรียกว่า Hyperemesis Gravidarum ซึ่งหากคุณแม่คนใดมีอาการแพ้ท้องขั้นรุนแรงแบบนี้ต่อเนื่องกัน อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของครรภ์เป็นพิษหรือคลอดก่อนกำหนดได้นะคะ (2) สิ่งนี้อาจร้ายแรงและมีโอกาสที่คุณอาจได้รับของเหลวในร่างกายไม่เพียงพอหรือเกิดภาวะขาดน้ำ หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจากอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป จนเกิดการขาดสารอาหารได้ค่ะ ซึ่งคุณเองอาจต้องได้รับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือบางคนอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเลยทีเดียว

นอกจากนี้การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมักมีผลต่อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปที่ไตได้ด้วยค่ะ

เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน

สาเหตุของการแพ้ท้อง (3)

อาจยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการแพ้ท้องนะคะ แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่อาจจะมีบทบาทต่อการแพ้ท้อง อาทิเช่น:

1. ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าส่วนหนึ่งของอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ จนลามไปถึงอาเจียนนี้ เกิดมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับการไหลเวียนของฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งอาจจะสูงขึ้น 100 เท่าในระหว่างการตั้งครรภ์เมื่อเทียบกับระดับที่พบในผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงความแตกต่างของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนระหว่างผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มี หรือ ไม่มีอาการแพ้ท้องค่ะ

2. ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ จะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอรโรนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่อยู่ในระดับสูง จะทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัวเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม นี่อาจเป็นสาเหตุทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ผ่อนคลายลง ส่งผลให้มีกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไปเลยทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น

3. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

น้ำตาลในเลือดต่ำนั้น เกิดจากการที่รกของคุณแม่กำลังระบายหรือถ่ายพลังงานออกจากร่างกายเลยทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย หรือมีอาการแพ้ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาที่จะพิสูจน์ในเรื่องนี้แน่ชัดนักค่ะ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

4. ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น อาทิเช่น Human Chorionic Gonadotropin (HCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อตัวอ่อนหรือทารกที่กำลังพัฒนา และมักจะเกิดขึ้นไม่นานหลังจากการตั้งตั้งครรภ์ในระยะแรก ๆ และต่อมาก็ถูกผลิตจากรก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่า ด้วยระดับฮอร์โมน HCG ที่เพิ่มขึ้นนี้เองมีความเชื่อมโยงกับอาการแพ้ท้องนั่นเอง

5. ความรู้สึกและความไวของกลิ่น

ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีความไวต่อกลิ่นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้มากเกินไปค่ะ

ความรู้สึกและความไวของกลิ่น
ความรู้สึกและความไวของกลิ่น

ปัจจัยเสี่ยงของการแพ้ท้อง (1)

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วง 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแพ้ท้อง แต่คุณอาจจะเสี่ยงต่ออาการแพ้ท้องมากขึ้นหาก:

  1. คุณมีลูกฝาแฝดหรือแฝดสาม
  2. คุณมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรงในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
  3. คุณมีประวัติปวดหัวไมเกรน
  4. อาการแพ้ท้องเกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัวมาก่อน
  5. คุณเคยรู้สึกไม่สบายเมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน
  6. เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกของคุณ
  7. คุณเป็นโรคอ้วน หรือมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) 30 ขึ้นไป
  8. คุณกำลังประสบกับความเครียด

การรักษาอาการแพ้ท้อง (1)

น่าเสียดายนิดนึงค่ะที่ไม่มีรักษาที่รวดเร็วทันใจและใช้ได้ผลมากนักกับอาการแพ้ท้องของผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคน เพราะแน่นอนว่าการตั้งครรภ์ในแต่ละคนหรือแต่ละครั้งจะมีความแตกต่างกันไป อย่างประสบการณ์การตั้งครรภ์ทั้งสองของแม่ แม่แทบไม่มีอาการแพ้ท้องใด ๆ ในการตั้งครรภ์ครั้งแรก แต่กลับมีอาการแพ้ท้องในท้องที่สอง ทั้งคลื่นไส้ ทั้งอาเจียน ตื่นเช้ามาก็มึนหัวเลย แทบจะรับประทานอะไรก็ไม่ได้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่แม่อยากนำมาบอกเล่า และว่าที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องสามารถนำไปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารที่แพ้ทั้งกลิ่นทั้งรสชาติ หรือการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ไม่มากก็น้อยค่ะ แต่หากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ผลสำหรับคุณ หรือคุณเริ่มมีอาการแพ้ท้องที่รุนแรงขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์ซึ่งอาจจะแนะนำให้ใช้ยาเพื่อลดอาการแพ้ท้องค่ะ

สิ่งที่คุณสามารถลองได้ด้วยตัวเอง

หากอาการแพ้ท้องของคุณไม่ได้แย่จนเกินไป แพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ก็จะแนะนำให้คุณลองปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันค่ะ เช่น

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะความเหนื่อยล้าอาจทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบาย งดอาหารที่มีกลิ่นหรือรสชาติที่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
  • รับประทานอาหารแก้อาการแพ้ท้อง เช่น ขนมปังปิ้งแห้ง ๆ ไม่ต้องทาเนยหรือปรุงรสใด ๆ หรือขนมปังกรอบสักคำสองคำก่อนคุณจะลุกจากเตียง
  • กินอาหารมื้อปกติแต่เป็นมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยขึ้น และควรเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง แต่ไขมันต่ำ เช่น ขนมปัง แครกเกอร์ข้าว หรือ พาสต้าต่าง ๆ
  • กินอาหารเย็นมากกว่าอาหารร้อน เพราะกลิ่นที่โชยมาจากอาหารร้อนอาจทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนได้
  • ดื่มน้ำหรือของเหลวมาก ๆ แต่ควรจิบเพียงทีละเล็กน้อยและบ่อยครั้ง เพื่อช่วยป้องกันการอาเจียนได้
  • กินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีขิง อันนี้ช่วยชีวิตแม่มาแล้วจริง ๆ ค่ะ เพราะมีหลักฐานอ้างอิงเลยค่ะว่า สรรพคุณของขิงจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ แต่ควรตรวจสอบกับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับทานอาหารเสริมที่มีขิงเป็นส่วนประกอบในระหว่างตั้งครรภ์
  • ลองวิธีกดจุด เนื่องจากมีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่าการกดที่ข้อมือ โดยใช้สายรัดหรือสร้อยข้อมือแบบพิเศษที่ปลายแขนอาจช่วยบรรเทาอาการได้

วิธีเหล่านี้ไม่ดีขึ้นเลย ทำอย่างไรต่อดี?

หากอาการคลื่นไส้และอาเจียนของคุณรุนแรงและไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นมาเลย หลังจากลองปรับเปลี่ยนวีถีชีวิตแบบข้างต้นแล้ว แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ใช้ยาต้านอาการป่วยระยะสั้นที่เรียกว่ายาต้านอาการป่วย ซึ่งปลอดภัยที่จะนำมาใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์ค่ะ บ่อยครั้งที่ยาตัวนี้อาจเป็นสารต่อต้านฮีสตามีนชนิดหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ แต่ยังใช้เป็นยาเพื่อหยุดความเจ็บป่วยและอาการแพ้ท้องได้ โดยปกติแล้วจะมาในรูปแบบเม็ดเพื่อให้คุณกลืน แต่ถ้าคุณไม่สามารถใช้ยาตัวนี้เพื่อรักษาอาการได้ แพทย์ของคุณก็จะวินิจฉัยโดยอาจแนะนำให้ฉีดยาหรือใช้ยาบางชนิดสอดเข้าไปในทวารของคุณ หรือ ยาเหน็บนั่นเองค่ะ

แนะนำให้ฉีดยาหรือใช้ยาบางชนิดสอดเข้าไปในทวารของคุณ หรือ ยาเหน็บ
แนะนำให้ฉีดยาหรือใช้ยาบางชนิดสอดเข้าไปในทวารของคุณ หรือ ยาเหน็บ

ถึงแม้ว่าอาการแพ้ท้องจะดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไปในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ แต่หาคุณแม่รู้สึกคลื่นไส้ตลอดทั้งวัน จนทำให้ไม่สามารถกินหรือดื่มอะไรได้เลย มีอาการอาเจียน 3 – 4 ครั้งต่อวัน หรือไม่สามารถเก็บอะไรไว้ในกระเพาะอาหาร เป็นอันต้องอาเจียนออก อีกทั้งอาจมีสีน้ำตาลหรือเลือดปะปนอยู่ น้ำหนักลด มีอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นลมร่วมด้วย ปัสสาวะน้อยลง มีอัตราการเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็ว อาการปวดหัวกำเริบ เมื่อยล้ามาก มีกลิ่นปากหรือกลิ่นตัวไม่พึงประสงค์ และมีความสับสน ก็ควรโทรหาคุณหมอทันทีนะคะ เพื่อที่คุณหมอจะได้วินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและปลอดภัยค่ะ ที่สำคัญเราต้องไม่ลืมที่จะดูแลตัวเองด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์สำหรับคุณแม่ รวมไปถึงวิตามินเสริมที่สำคัญสำหรับคนท้องด้วยนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากเราค่ะ


Resources :
(1) Vomiting and morning sickness
(2) Pregnancy – morning sickness
(3) What is morning sickness and how can I treat it?

ShareTweet
Previous Post

เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

Next Post

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
158
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
229
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
159
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
217
เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

April 2, 2021
120
เจ็บท้องจริง เจ็บท้องเตือน น้ำเดินหรือยัง?

เจ็บท้องจริง เจ็บท้องเตือน น้ำเดินหรือยัง?

April 2, 2021
225
Next Post
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

  • Trending
  • Comments
  • Latest
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In