Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home คุณแม่

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

Arrani by Arrani
May 2, 2021
in คุณแม่, ตั้งครรภ์, ลูกแฝด
Reading Time: 1min read
0
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

0
SHARES
341
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

ยินดีกับคุณแม่ท้องแฝดด้วยนะคะ แหม….ยังกะยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว อิอิ แม่ติดตามเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ตอนนี้ไม่เพียงแต่เลือกเพศลูกได้แล้ว ยังสามารถเลือกให้ท้องแฝดได้อีกด้วย ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่ความพร้อมของครอบครัวนั้น ๆ ด้วย เพราะอยากจะกระซิบดัง ๆ ว่า เลี้ยงลูกหนึ่งคน จนไปหลายปีจริง ๆ ค่ะ อ๊ะ ๆ….แต่สำหรับบางบ้านที่ไม่ได้พึ่งเทคโนโลยี แต่ท้องแฝดเองโดยธรรมชาติ ก็ถือว่าคุณพ่อคุณแม่โชคดีมาก ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ท้องครั้งเดียวแต่ได้ลูกถึงสองคน…

อ่านเพิ่มเติม

  • เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
  • เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี
  • วิธีแก้อาการแพ้ท้อง เวียนหัว อ้วก อาเจียนตอนเช้า

แล้วรู้หรือไม่คะว่าฝาแฝดเนี่ยแบ่งเป็น 2 ประเภท นั่นก็คือฝาแฝดที่เหมือนกัน และ ฝาแฝดที่ไม่เหมือนกัน อ่าว….ก็ฝาแฝดนะแม่ จะไม่ให้เหมือนกันได้ด้วยเหรอ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน ไปตามอ่านกันเลยจ้า

ฝาแฝด ประเภทต่าง ๆ (1)

ฝาแฝดที่เหมือนกัน (Monozygotic) - ฝาแฝดที่ไม่เหมือนกัน (Dizygotic)
ฝาแฝดที่เหมือนกัน (Monozygotic) – ฝาแฝดที่ไม่เหมือนกัน (Dizygotic)

1. ฝาแฝดที่เหมือนกัน (Monozygotic)

ฝาแฝดแบบ Monozygotic หรือ ฝาแฝดที่เหมือนกันนั้น เกิดขึ้นเมื่อมีการปฏิสนธิไข่ใบเดียวกัน จากนั้นไข่ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ทำให้เกิดฝาแฝนที่เหมือนกัน เพราะมียีนที่เหมือนกันนั่นเองค่ะ ฝาแฝดที่เหมือนกัน มักจะเป็นเพศเดียวกัน ดังนั้นหากฝาแฝดของคุณเหมือนกันแล้วล่ะก็ คุณจะมีเด็กผู้หญิงน่ารัก ๆ 2 คน หรือมีเด็กผู้ชายหล่อ ๆ 2 คนนั่นเองค่ะ

2. ฝาแฝดที่ไม่เหมือนกัน (Dizygotic)

ฝาแฝดที่ไม่เหมือนกัน จะเกิดขึ้นเมื่อไข่ 2 ฟองแยกจากกันหลังจากได้รับการปฏิสนธิแล้วฝังเข้าไปในมดลูก ฝาแฝดที่ไม่เหมือนกันเหล่านี้ จะไม่เหมือนกันมาก หรือดู ๆ ไปแล้วก็ไม่ได้ต่างจากพี่น้องคนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไปค่ะ ฝาแฝดที่ไม่เหมือนกันเป็นเรื่องปกติมากขึ้นหากทารกจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศค่ะ

คุณอุ้มลูกแฝดอยู่หรือเปล่า? (1)

หากคุณคิดว่าคุณกำลังอุ้มทารกมากกว่า 1 คนแล้วล่ะก็ คุณจะรับรู้ได้จากสัญญาณเหล่านี้ค่ะ….

  • ท้องคุณดูใหญ่กว่าที่คุณควรจะเป็น แม่ท้องแฝดจะเห็นชัดเลยค่ะว่าท้องคุณใหญ่กว่าคุณแม่ท่านอื่น ๆ ที่ท้องแค่ 1 คนในสัปดาห์ของการตั้งครรภ์ที่เท่ากัน
  • สมาชิกในครอบครัวหรือมีกรรมพันธุ์เป็นแฝดมาก่อน
  • คุณได้รับการรักษาในภาวะของการมีบุตรยาก (Fertility Treatment)
สมาชิกในครอบครัวหรือมีกรรมพันธุ์เป็นแฝดมาก่อน
สมาชิกในครอบครัวหรือมีกรรมพันธุ์เป็นแฝดมาก่อน

โดยปกติแล้ว คุณจะทราบว่าคุณกำลังมีลูกแฝดหรือไม่ผ่านการอัลตร้าซาวด์ที่เรียกว่าการสแกน 12 สัปดาห์ (12-week scan) ซึ่งคุณสามารถทำการสแกนได้ในสัปดาห์ที่ 10 -14 (2) และในการสแกนนี้เองค่ะที่แพทย์จะแจ้งให้คุณทราบว่าทารกมีรกร่วมกัน หรือ ฝาแฝดเหมือนกัน หรือว่าทารากมีรก 2 ตัวแยกกัน นั่นหมายความว่าคุณจะมีฝาแฝดที่เหมือนกันหรือไม่ก็ได้ และหากการสแกนนี้ยังไม่ชัดเจนมากนักในครั้งแรก แพทย์ก็อาจจะเสนอให้คุณกลับมาสแกนใหม่อีกครั้ง

ฝาแฝด เกิดจากอะไร?

เอาจริง ๆ นะคะ ก็ยังไม่มีใครรู้ค่ะว่าอะไรเป็นสาเหตุของฝาแฝดที่เหมือนกัน (Monozygotic) ซึ่งทุกคนมีโอกาสเหมือนกันที่จะได้ฝาแฝดที่เหมือนกันประมาณ 1 ใน 250  ฝาแฝดที่เหมือนกัน ไม่ได้มาจากครอบครัวหรือกรรมพันธุ์ แต่มีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้การมีฝาแฝดที่ไม่เหมือนกันนั้นมีโอกาสเกิดมากขึ้น อาทิเช่น:

  • ฝาแฝดที่ไม่เหมือนกันพบได้บ่อยในกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม โดยมีอัตราสูงสุดในหมู่ชาวไนจีเรียและต่ำสุดในหมู่ชาวญี่ปุ่น
  • หากคุณตั้งครรภ์และอายุมากกว่า 35 ปี คุณมีแนวโน้มที่จะมีฝาแฝดที่ไม่เหมือนกัน เพราะคุณมีแนวโน้มที่จะปล่อยไข่มากกว่า 1 ฟองในช่วงตกไข่
  • การทำเด็กหลอดแก้ว สามารถเพิ่มโอกาสในการเกิดลูกแฝดได้ เนื่องจากอาจมีการย้ายตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัว

จะรู้ได้อย่างไรว่าฝาแฝดเหมือนกันหรือไม่?

วิธีที่ถูกต้องที่สุดในการตรวจสอบว่าฝาแฝดเหมือนกันหรือไม่ คือกการตรวจดีเอ็นเอ ซึ่งสามารถทำได้หลังจากมีลูกน้อยของคุณเกิดแล้วเท่านั้น นอกจากนี้ รกยังสามารถเป็นเบาะแสสำคัญ หากการสแกนอัลตร้าซาวด์ครั้งแรกของคุณเสร็จสิ้นก่อน 14 สัปดาห์แล้วล่ะก็ แพทย์ก็สามารถบอกคุณได้อย่างถูกต้องว่าฝาแฝดของคุณมีรกแบบไหน มิฉะนั้นจะสามารถตรวจสอบรกได้หลังจากที่ทารกของคุณคลอดมาแล้วนั่นเองค่ะ

การสแกนอัลตร้าซาวด์
การสแกนอัลตร้าซาวด์

ไม่ว่าคุณจะมีฝาแฝดเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีทั้งสิ้นใช่มั้ยคะ และเนื่องจากการตั้งครรภ์แฝดอาจมีความซับซ้อนมากกว่าการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจึงมักแนะนำให้ฝากครรภ์โดยเฉพาะมากกว่าการดูแลร่วมกันหรือการดูแลผดุงครรภ์เพียงอย่างเดียว เพราะหากคุณมีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ การตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญสามารถรับการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่น การคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น (3) และแม่ก็ขอแสดงความยินดีกับว่าที่คุณแม่น้องแฝดด้วยนะคะ


Resources :
(1) Pregnant with twins
(2) 12-week scan
(3) Pregnant with twins

ShareTweet
Previous Post

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

Next Post

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
245
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
246
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
286
แก้อาการแพ้ท้อง เวียนหัว อ้วก อาเจียนตอนเช้า

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง เวียนหัว อ้วก อาเจียนตอนเช้า

April 13, 2021
475
เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

April 2, 2021
177
เจ็บท้องจริง เจ็บท้องเตือน น้ำเดินหรือยัง?

เจ็บท้องจริง เจ็บท้องเตือน น้ำเดินหรือยัง?

April 2, 2021
299
Next Post
อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

  • Trending
  • Comments
  • Latest
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In