Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home การเลี้ยงลูก

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

Arrani by Arrani
February 5, 2021
in การเลี้ยงลูก, แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Reading Time: 2min read
0
อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

0
SHARES
753
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

สาเหตุอาการสะอึก ในทารกแรกเกิด

เมื่อตอนที่แม่คลอดลูกคนแรก การสะอึกของลูกวัยทารกแรกเกิด โดยเฉพาะหลังกินนม แล้วไม่ใช่ปุ๊บปั๊บก็หายสะอึกนะคะ บางครั้งกินเวลาเป็นนาที สองนาที ซึ่งตอนนั้นก็เป็นคุณแม่มือใหม่ อะไรนิดอะไรหน่อยก็กังวลไปหมดล่ะค่ะ ไม่รู้ว่าแม่ ๆ บ้านไหนรู้สึกกังวลใจกับอาการสะอึกในวัยทารกแรกเกิดแบบแม่บ้างน๊า…..แต่เมื่อคุณหมอเข้ามาตอบถึงข้อสงสัยนี้ จึงให้แม่รู้ว่า จริง ๆ แล้วนั้น การสะอึกในทารกนั้นไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรงค่ะ ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่มักจะเกิดขึ้นหลังกินนมอยู่แล้วค่ะ โดยเฉพาะในช่วงสองสามเดือนแรกหลังคลอด ซึ่งเกิดกจากการที่กระเพาะของเจ้าตัวน้อยขยายตัวหลังจากกินนมอย่างอิ่มหมีพลีมัน เลยทำให้เกิดแรงดันส่งไปที่กล้ามเนื้อกะบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อเล็ก ๆ ระหว่างช่องปอดกับช่องท้องของพวกเขา นั่นเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดเป็นเสียงจากกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็วฉับพลัน ขณะที่ทารกหายใจออกนั่นเอง จึงทำให้ทารกมีอาการะสะอึก ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อทารักค่ะ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลนะคะ (1)

การสะอึกในเด็กเป็นเรื่องปกติ ไหม?

ใช่แล้วล่ะค่ะ จากการศึกษาของในหลาย ๆ แหล่ง บอกเลยค่ะว่าเป็นเรื่องปกติมากที่จะเกิดขึ้นสำหรับทารกอายุต่ำกว่า 12 เดือน แต่จริง ๆ แล้วทารกเริ่มจะสะอึกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้วด้วยซ้ำ (2) แม่จำได้ว่าตอนนั้น นั่งนับการดิ้นของลูก จู่ ๆ เจ้าตัวน้อยก็สะอึกเฉย ๆ แล้ว แม่ก็ทำได้เพียงแค่ช่วยปลอบประโลม ลูบสัมผัสเขาให้รู้สึกปลอดภัยและจนกว่าจะหายสะอึก ไม่รู้แม่ ๆ คนไหนเคยมีโมเม้นต์ลูกสะอึกตอนอยู่ในครรภ์บ้างคะ? เพราะถ้าเคยมี จะรู้ทันทีเลยค่ะว่านี่ไม่ใช่การดิ้นของลูก และเป็นการสะอึกนั่นเอง โดยปกติแล้วลูกน้อยของคุณแม่จะหยุดสะอึกเองภายใจ 5 – 10 นาทีนะคะ แต่หากอาการสะอึกของลูกไม่หยุดภายในสองสามชั่วโมง อันนี้คุณแม่ควรไปพบและปรึกษาแพทย์ค่ะ

ทารกน้อยมันจะสะอึกบ่อยครั้งหลังการให้นม แต่บางครั้งก็จะมีสะอึกโดยไม่มีเหตุผลชัดเจน ซึ่งการให้นมลูกหรือน้ำนั้นก็สามารถช่วยให้ลูกหยุดสะอึกได้เช่นกันค่ะ หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยของคุณมักจะมีอาการสะอึกระหว่างให้นมแล้วล่ะก็ ลองชะลอการดูดนม เพื่อให้เวลาลูกน้อยได้ผ่อนคลายมากขึ้น แต่ก็มีอีกหลายวิธีที่จะช่วยหยุดและคลายการสะอึกของลูกน้อยได้ค่ะ อาทิเช่น

  1. การเรอให้ทารก
  2. การให้จุกนมหลอก
  3. การให้ไก๊รป์วอเตอร์ (Gripe Water)
  4. การให้ทารกหยุดสะอึกเอง

วิธีแก้ปัญหา ทารกแรกเกิดสะอึก

มาดูเคล็ดลับในแต่ละวิธีกันเลยค่ะ

ทำให้ทารกเรอ

ระหว่างการให้นม หากทารกมีอาการสะอึก คุณแม่ลองให้เขาหยุดพักจากการกินนมสักครู่ เพื่อให้ลูกได้เรอ นี่เป็นวิธีการช่วยกำจัดอาการสะอึกได้อย่างอยู่หมัด เนื่องจากการจับลูกเรานั้น สามารถกำจัดก๊าซส่วนเกินที่ทำให้เกิดอาการสะอึกได้ การจับลูกเรอจะช่วยลดการสะอึกได้เพราะมันจะช่วยให้ทารกอยู่ในท่าเหยียดตรงนั่นเอง อย่าง American Academy of Pediatrics (AAP) แนะนำเลยค่ะว่า คุณแม่ที่ให้นมลูกจากขวดนม จำเป็นต้องจับลูกเรอ ไม่ใช่แค่หลังกินนมเสร็จเท่านั้น แต่ควรทำเป็นระยะ ๆ ในระหว่างการให้นมด้วยค่ะ หรือคุณแม่ที่ให้นมแม่จากเต้า ให้เรอก่อนจะเปลี่ยนไปกินนมอีกข้างค่ะ (3)

ทริคเล็ก ๆ: การลูบหรือตบหลังลูกน้อยเบา ๆ เมื่อลูกสะอึกระหว่างให้นม ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้พวกเขาลดการสะอึกได้ค่ะ 

ใช้จุกนมหลอก

อาการสะอึกของทารกไม่ได้เริ่มมาจากการให้นมเสมอไปหรอกนะคะแม่ขา ซึ่งหลาย ๆ ครั้งที่แม่มีการเล่นหยอกล้อกับลูก เมื่อพวกเขาชอบใจและหัวเราะไม่หยุดแล้วนั้น จู่ ๆ อาการสะอึกก็มาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย การใช้จุกนมหลอกก็ถือเป็นการช่วยผ่อนคลายกระบังลมและอาจช่วยหยุดการสะอึกได้ค่ะ (3)

ให้ทานไก๊รป์วอเตอร์ (gripe water)

หากคุณแม่จับลูกเรอก็แล้ว ให้จุกหลอกก็แล้ว แต่ทารกน้อยยังคงสะอึกอยู่ คุณแม่อาจจะลองให้ไก๊รป์วอเตอร์ หรือ Gripe Water ซึ่งเป็นน้ำที่มีส่วนผสมชองสมุนไพรและเป็นน้ำสมุนไพรที่หลาย ๆ คนเชื่อกันว่าช่วยแก้อาการจุกเสียดและอาการไม่สบายลำไส้อื่น ๆ แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานสนับสนุนก็ตาม แต่จากประสบการณ์ของแม่เองนั้นมันใช้ได้ผลสำหรับลูกแม่จริง ๆ ค่ะ เพราะคุณหมอเองก็เป็นคนแนะนำให้แม่มาอีกทีจ้า ประเภทของสมุนไพรในไก๊รป์วอเตอร์อาจจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ยี่ห้อนะคะ ซึ่งบางตัวจะมีส่วนผสมของขิง ยี่หร่า คาโมไมล์ และอบเชย น้ำไก๊รป์วอเตอร์อาจจะยังไม่ได้รับการแสดงทางการแพทย์ว่าช่วยในการสะอึกในทารก ก่อนที่คุณแม่จะลองใช้กับทารกน้อยนั้น ขอแนะนำให้คุณแม่ลองปรึกษาแพทย์ดูก่อนนะคะ

ทริคเล็ก ๆ : คุณแม่ควรตรวจสอบรายการส่วนผสมของน้ำไก๊รป์วอเตอร์จากเภสัชกรหรือคุณหมอให้แน่ใจก่อนจะตัดสินใจซื้อนะคะ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีคาร์บอนนจากพืช เพราะบางครั้งฉลากจะระบุว่า เป็นคาร์โบเฟตาบิลิลหรือถ่านกัมมันต์ แอลกอฮอล์ และซูโครส เพราะส่วนผสมทั้งหมดนี้อาจมีผลเสียกับทารกได้ค่ะ (3)

การให้ทารกหยุดสะอึกเอง

ทารกที่มีอายุต่ำกว่า  1  ปีจะสะอึกบ่อยพอสมควร ดังนั้น การปล่อยให้เป็นเช่นนั้นน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดค่ะคุณแม่ เพราะการสะอึกของทารกจะหยุดได้เอง ถ้าหากเป็นการไม่รบกวนพวกเขา คุณแม่ก็ปล่อยให้พวกเขาสะอึกแล้วหยุดลงด้วยตนเอง แต่เมื่อไหร่ที่การสะอึกดูจะไม่หยุดลงภายหลังหลายชั่วโมง ซึ่งแม้จะพบได้น้อย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณแม่เห็นว่าผิดสังเกตแล้วล่ะก็ ควรปรึกษาแพทย์นะคะ เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางการแพทย์ที่อาจจะร้ายแรงได้ (3)

วิธีป้องกันการสะอึกในทารก

แม่ก็มีวิธีที่จะช่วยป้องกันอาการสะอึกได้ อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นการยากที่จะป้องกันการสะอึกในทารกแรกเกิดได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากสาเหตุยังไม่ชัดเจน แต่ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้เพื่อช่วยป้องกันอาการสะอึกได้ค่ะ

  1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณไม่อยู่ในอารมณ์ที่หงุดหงิดหรือร้องไห้งอแงก่อนจะเริ่มให้นม 
  2. หลังจากการให้นม ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่หนักหน่วงกับลูกน้อยของคุณ เช่นการจับลูกเล่นกระเด้งขึ้นลง 
  3. ให้ทารกอยู่ในท่าตั้งตรงเป็นเวลา 20 – 30 นาทีหลังการให้นมหรืออาหารแต่ละมื้อ

วิธีแก้ปัญหาการสะอึก ในเด็กโต

การสะอึกไม่ได้เกิดแค่ในทารกแรกเกิดเท่านั้นนะคะ สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยก็มีอาการสะอึกได้เช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าอาการสะอึกมันกจะหยุดได้เอง แม้ว่าจะมีวิธีแก้ปัญหามากมายสำหรับการสะอึก แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มากนัก แต่คุณแม่ก็สามารถนำวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ไปลองใช้กันดูก็ได้นะคะ (2)

  • ค่อย ๆ จิบน้ำเย็น ๆ 
  • กลั้นหายใจเป็นเวลาสั้น ๆ 
  • ออกแรงกดจมูกเบา ขณะกลืน
  • ค่อย ๆ ดันกะบังลม
  • กัดเลม่อน
  • จิบน้ำส้มสายชู
  • หายใจเข้าไปในถุงกระดาษ (แต่อย่าคลุมถุงกระดาษลงบนศีรษะนะคะ)
  • ดึงเข่าขึ้นมาที่หน้าอก
  • โน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อกดหน้าอกไว้

 

จริงอยู่ที่คุณแม่อย่างเราอาจจะคิดว่าอาการสะอึกมันสร้างความรำคาญหรือไม่สบายตัวให้กับลูกน้อย เพราะเวลาเราเองที่สะอึกแต่ละครั้ง ก็สร้างความรบกวนใจไม่น้อยเลยใช่มั้ยคะ อย่างไรก็ตามการสะอึกก็ไม่ได้ส่งผลกระทบหรือรบกวนพวกเขาเลยด้วยซ้ำ เด็กทารกหลาย ๆ คนยังสามารถนอนหลับทั้ง ๆ ที่สะอึกอยู่ อีกทั้งยังไม่มีผลต่อการหายใจของทารกด้วยค่ะ คุณแม่สบายใจได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่สนับสนุนว่าการสะอึกนี่แหละค่ะมีความสำคัญต่อการพัฒนาการด้านสมองและการหายใจของทารก

และเมื่อไหร่ที่คุณแม่รับรู้การสะอึกของลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ ก็คลายกังวลไปได้เลยค่ะ เพราะนั่นกำลังส่งสัญญาณให้คุณแม่รู้ว่า เจ้าตัวน้อยที่ดิ้นกระดุ๊กกระดิ๊กอยู่ในท้อง กำลังมีพัฒนาไปอีกหนึ่งขั้นแล้วล่ะค่ะ(3)


Resources:

  1. Why does my baby always have hiccups and pass stool after feeding?
  2. Hiccups 
  3. How Can I Cure My Newborn’s Hiccups?
ShareTweet
Previous Post

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

Next Post

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด

เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมคุณแม่ หลังคลอด – ทำได้เอง

March 18, 2021
298
ข้อดีของจุกหลอก

จุกหลอก มีดีอย่างไร ในเด็กต่ำกว่า 1 ปี

March 17, 2021
478
พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

February 17, 2021
159
วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

February 13, 2021
344
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
1.4k
เคล็ดลับการให้นมแม่ ฉบับมนุษย์แม่ออฟฟิศ (วันลาคลอดจะหมดแล้ว วางแผนการให้นมแม่กันเถอะ)

เคล็ดลับการให้นมแม่ ฉบับมนุษย์แม่ออฟฟิศ

February 8, 2021
385
Next Post
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

  • Trending
  • Comments
  • Latest
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In