Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home การเลี้ยงลูก แรกเกิดถึงขวบปีแรก การนอนหลับ

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

Arrani by Arrani
February 5, 2021
in การนอนหลับ, การเลี้ยงลูก, แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Reading Time: 1min read
0
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

0
SHARES
922
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านคงจะเจอเหตุการณ์การสะดุ้งหรือผวาของทารกแรกเกิด ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับอาการดังกล่าวนี้อยู่ไม่น้อยเลยใช่มั้ยคะ ทั้ง ๆ ที่คุณเองก็พยายามทุกอย่างแล้วเพื่อจะปลอบลูกน้อยของคุณให้นอนหลับสนิทและปลอดภัย และเมื่อความพยายามที่จะปลอบประโลมลูกน้อยให้หลับใหล ผ่านไปหนึ่งชั่วโมง สองชั่วโมง จนมารู้ตัวว่าลูกน้อยของคุณหลับไปแล้วก็ปาเข้าไปหลายชั่วโมง แต่พอนำลงเปล หรือ ที่นอนสำหรับเด็กทารกปุ๊บ ลูกกลับสะดุ้งปั๊บ และความพยายามที่จะนำลูกน้อยนอนอีกครั้ง ก็อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเหนื่อยล้ามากมายเลยใช่มั้ยคะ หรือบางครั้งที่เสียงหรือการเคลื่อนไหวที่กระทันหัน เช่น แม่อาจจะทำของตกพื้นบ้าง เสียงเปิดประตูของคุณพ่อบ้าง ก็อาจจะทำให้ทารกเกิดการสะดุ้งตื่นขึ้นมาบ่อย ๆ หากทารกแรกเกิดมีอาการตกใจเพราะเสียงดังหรือจากการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน

อาการนอนสะดุ้ง ผวาของทารกอาจจะตอบสนองในลักษณะเฉพาะของทารกนั้น ๆ เช่น บางคนอาจจะมีการกางแขนกางขาขณะตกใจ หรือบางคนอาจจะขดขาทั้งสองข้าง แต่ไม่ใช่ทารกทุกคนจะตกใจกับเสียงหรือการเคลื่อนไหวเหล่านี้แล้วจะร้องไห้เสมอนะคะ เพราะทารกบางคนอาจจะมีแค่ปฏิกิริยาตอบสนอง แต่ไม่มีการร้องไห้ ซึ่งปฏิกิริยาตอบสนองจากสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้พวกเขาตกใจนั้นจะค่อย ๆ หายไปเมื่อทารกโตขึ้น แต่สำหรับบางคนอาจจะยังคงอยู่จนถึงวัยผู้ใหญ่ก็ได้ ซึ่งการปฏิกิริยาตอบสนองนี้จะยังคงอยู่หลังจากผ่านไปเป็นเวลานาน แต่นั่นก็อาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเสียหายของสมองหรือระบบประสาทได้ค่ะ (1)

กุมารแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพจะตรวจสอบปฏิกิริยาตอบสนองของทารก เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดว่าสมองและระบบประสาททำงานได้ดีหรือไม่ และปฏิกิริยาที่ตอบสนองนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใดของพัฒนาการในเด็กทารก และการที่ทารกตกใจเพราะเสียงดังหรือการเคลื่อนไหวนี้เอง เราเรียกว่า “Moro reflex” หรือ “Startle reflex” ค่ะ แต่ก็ยังมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างอื่นที่ปกติและจะพบได้ในทารก อาทิเช่น

ปฏิกิริยาตอบสนองที่พบได้ในทารก (2)

1. ปฏิกิริยาการค้นหา (Rooting Reflex)

เป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองกลับเมื่อคุณแม่มีการลูบหรือสัมผัสที่มุมปากของทารก ทารกจะหันศีรษะและอ้าปากเพื่อตามและเคลื่อนไหวไปตามทิศทางของการลูบและการสัมผัสจากคุณแม่ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ทารกหาเต้านมหรือขวดนมเพื่อเริ่มการดูดนมนั่นเอง ปฏิกิริยาการตอบสนองนี้จะกินเวลาประมาณ 4 เดือนนะคะ

2. ปฏิกิริยาการดูด (Suck Reflex)

การค้าหาจะช่วยให้ทารกพร้อมที่จะดูดนม เมื่อสัมผัสกับเพดานปากของทารกแล้วล่ะก็ ทารกก็จะเริ่มดูดตามธรรมชาติของำวหดขา ปฏิกิริยาการตอบสนองนี้จะไม่เริ่มขึ้นจนถึงประมาณสัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์ และยังไม่พัฒนาเต็มที่จนกว่าจะถึง 36 สัปดาห์ แต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด อาจมีความสามารถในการดูดนมที่ยังไม่ดีพอ เนื่องจากทารกยังมีปฏิกิริยาตอบสนองแบบปากต่อปากที่เกิดจากการค้นหาเต้านมหรือขวดนม นอกจากนี้หากคุณแม่สังเกตดี ๆ ทารกอาจมีการดูดนิ้ว หรือดูดกำปั้นมือตนเอง ก็ถือเป็นปฏิกิริยาการดูดเช่นกันค่ะ

3. ปฏิกิริยาโมโร (Moro Reflex)

นี่แหละค่ะคือปฏิกิริยาที่ทำให้ทารกสะดุ้งตื่นเมื่อเกิดเสียงดังหรือมีการเคลื่อนไหว เราจะได้ยินอีกคำหนึ่งบ่อย ๆ ว่า “Startle Reflex” ค่ะ ทารกจะตอบสนองต่อเสียงโดยการหันศีรษะไปข้างหลัง กางแขนและขาออก ส่งเสียงร้อง จากนั้นจะดึงแขนและขากลับเข้ามา รู้มั้ยคะว่า เสียงร้องของทารกเอง ก็อาจทำให้เขาตกใจและทำให้เกิดปฏิกิริยาโมโรนี้ได้ค่ะ ซึ่งจะอยู่กับทารกแบบนี้จนกระทั่งอายุประมาณ 2 เดือน

4. ปฏิกิริยาของคอ (Tonic Neck Reflex)

เมื่อศีระษของทารกหันไปด้านใดด้านหนึ่ง ขณะนอนหงาย และแขนด้านนั้นจะถูกเหยียดออก ส่วนอีกข้างหนึงนั้นจะงอขึ้นที่ข้อศอก ซึ่งมักจะเรียนว่า ท่าฟันดาบ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่จะอยู่กับทารกจนอายุประมาณ 5 – 7 เดือนค่ะ

5. ปฏิกิริยาการจับ (Grasp Reflex)

หากคุณแม่ลองลูบหรือสัมผัสฝ่ามือของทารกแล้วล่ะก็ คุณแม่จะรับรู้ได้ถึงปฏิกิริยาการจับ อย่างแน่นหน้า เพราะทารกจะตอบสนองโดยการหุบนิ้วของพวกเขาในการจับ การตอบสนองนี้จะอยู่กับทารกไปจนมีอายุประมาณ 5 – 6 เดือน ซึ่งการตอบสนองนี้จะคล้าย ๆ กันกับการตอบสนองของนิ้วเท้าซึ่งจะกินเวลานานถึง 9 – 12 เดือนค่ะ

6. ปฏิกิริยาการก้าว (Stepping Reflex)

การตอบสนองแบบนี้ก็คือการก้าวเดินนั่นเองค่ะ คุณแม่ลองจับพวกเขาให้ยืนขึ้น โดยให้เท่าสัมผัสกับพื้นแข็ง สิ่งที่ทารกจะตอบสนองคือการยกเท้าทั้งสองข้าง พยายามสลับกันสัมผัสพื้นเพื่อพยายามก้าว หรือเต้นกระโดด การตอบสนองนี้จะช่วยพัฒนาทักษะในการเดินของลูก ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 2 เดือนค่ะ

จริงอยู่ที่ว่า Moro reflex จะหายไป แต่คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าชะล่าใจนะคะ โดยเฉพาะกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด การที่พวกเขาตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่น่าพอใจซักเท่าไหร่ เนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนล่างของทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจจะมีความต้านทานไม่เพียงพอต่อการเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ (passive movement) หรือการหดตัวของแขนพวกเขานั้นอาจจะช้าเมื่อเทียบกับทารกแรกเกิดที่ครบกำหนด แต่การที่ทารกแรกเกิดถึงช่วงวัยแรกเกิดนั้น ไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยการเคลื่อนไหว ทางกุมารแพทย์อาจให้การวินิจฉัยว่าอาจมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นกับทารกแรกเกิดหรือไม่? (3)

ปัจจัยที่วินิจฉัยว่าทารกแรกเกิดอาจขาด Moro Reflex ก่อนวัยอันควร มีดังนี้ (3)

  • ทารกแรกเกิดอาจมีการบาดเจ็บจากการคลอด หรือการขาดอากาศหายใจรุนแรงในระหว่างขั้นตอนการคลอด หรือการตกเลือดในกะโหลกศีรษะ
  • การติดเชื้อจากความผิดปกติของสมอง
  • ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อโดยทั่วไปจากสาเหตุต่าง ๆ
  • อัมพาตสมองชนิดกระตุก

การพิจารณาเพื่อใช้ในการตรวจสอบ Moro Reflex ทันทีหลังคลอดของกุมารแพทย์ (1)

  • กุมารแพทย์หรือพยาบาลจะวางทารกในลักษณะหงายท้อง และตั้งทารกไว้บนเบาะ หรือแผ่นรอง
  • ทารกจะถูกยกศีรษะขี้นอย่างเบา ๆ โดยมีการรองรับที่ศีรษะอย่างเพียงพอที่จะเอาน้ำหนักตัวออกจากแผ่นรอง
  • จากนั้นศีรษะของทารกจะถูกปล่อยอย่างกระทันหัน แต่จะได้รับการรองรับอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าแพทย์จะไม่ให้ศีรษะทารกกระแทกอะไรอย่างแน่นอน
  • การตอบสนองอย่างปกติของทารก คือ จะมีท่าทางตกใจ แขนขาทารกควรเคลื่อนไปด้านหน้าโดยยกฝ่ามือขึ้นและงอนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งทารกอาจจะร้องไห้เป็นนาที แต่ถือเป็นการตอบสนองที่ปกติ
  • เมื่อการตอบสนองสิ้นสุดลง ทารกจะดึงแขนกลับมาที่ลำตัว งอข้อศอก และผ่อนคลาย

ทารกที่มี Moro Reflex ที่ยังคงอยู่นั้น จะแสดงให้เห็นถึงปัญหาหลายประการ ดังนี้

  • การโฟกัสที่ยากลำบาก พวกเขาอาจจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่ายขึ้น
  • ความอ่อนไหวทางด้านอารมณ์ที่มักแปรปรวน
  • มีความวิตกกังวลและความโกรธได้ง่ายขึ้น
  • ดวงตาเกิดการเคลื่อนไหวที่ยากลำบาก ซึ่งส่งผลให้การรับรู้ภาพลดลง รวมถึงความยากลำบากในการมองข้ามวัสดุภาพที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • กล้ามเนื้อตึง
  • มีความยากลำบากในการอ่านงานพิมพ์สีดำบนกระดาษสีขาว เป็นต้น

ปัญหาที่เกิดจากการที่ทารกไม่ตอบสนองต่อเสียงดังหรือการเคลื่อนไหวนั้น มีอยู่หลายประการข้างต้นที่คุณแม่อาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หากปัญหาเหล่านี้เพิ่มทวีคูณขึ้นเพื่อหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น แต่หากคุณแม่กำลังกังวลถึงอาการผวา และสะดุ้งตื่นของทารกน้อยแล้วล่ะก็ ลองนำวิธีลดการผวาของลูกและปัญหาเรื่องการสะดุ้งตื่นของพวกเขา เพื่อที่จะช่วยให้ทารกได้นอนหลับสนิทและไม่ตกใจตื่นค่ะ

วิธีลดการสะดุ้งตื่นตกใจของทารก

การอุ้มทารกแนบอก เพื่อให้ได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่ เป็นการทำให้ทารกรับรู้ถึงความปลอดภัย คุณแม่สามารถอุ้มพวกเขาแนบอกได้นานเท่าที่ต้องการเลยค่ะ เมื่อลูกหลับแล้ว ก็ค่อย ๆ วางลูกน้อยบนเตียง ใช้มือประคองเพื่อให้พวกเขาจนกระทั่งหลังของทารกสัมผัสกับเบาะหรือที่นอน เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกถึงแรงกระแทก เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกผวา และตื่นตกใจได้ค่ะ
การห่อตัวทารัก ซึ่งมีวิธีการห่อตัวหลายรูปแบบ ซึ่งวิธีนี้จะให้ความรู้สึกประหนึ่งยังอยู่ในครรภ์แม่ ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย ลดการผวาได้ อีกทั้งยังทำให้ลูกหลับได้นานอีกด้วยค่ะ

การหาอุปกรณ์กล่อมนอน เช่น เปลไฟฟ้า ก็ช่วยให้ลูกรู้สึกถึงความผ่อนคลาย นอนหลับง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยเบาแรงให้คุณแม่อีกด้วยค่ะ

หากปฏิกิริยา Moro Reflex ของทารกเป็นไปแบบไม่สมส่วนแล้วล่ะก็ ทารกอาจเกิดการบาดเจ็บตามอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเเกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทส่วนปลายคอหรือกระดุกไหปลาร้าหัก ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการที่ทารกมี Moro Reflex ที่ไม่สมดุลกัน ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณของภาวะสมองพิการแบบกระตุกได้ค่ะ (3)

ถึงแม้ว่า Moro Reflex จะเป็นปฏิกิริยาปกติต่อสิ่งเร้าของทารก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรหมั่นสังเกต หากรู้สึกว่าผิดปกติ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรปรึกษาทีมแพทย์ เพื่อจะได้เข้าใจว่าปฏิกิริยาปกติมีลักษณะอย่างไร เพราะเป็นสิ่งที่แพทย์และพยาบาลตระหนักดีว่า Moro Reflex แบบไม่สมดุลกันตั้งแต่แรกเกิดสามารถบ่งบอกถึงความเสียหายของเซลล์ประสาท หรือการแตกหักของกระดูกไหปลาร้าได้ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องจำไว้ว่า Moro Reflex ควรหายไป ภายในหกเดือนของทารก เพราะฉะนั้นหากเกิดข้อสงสัยอะไร ก็ควรปรึกษาแพทย์เป็นดีที่สุดค่ะ


Resources

1. medlineplus.gov – Infant reflexes
2. University of Rochester Medical Center – Newborn Reflexes
3. ncbi.nlm.nih.gov – Moro Reflex

ShareTweet
Next Post

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่หลังคลอด

เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนมคุณแม่ หลังคลอด – ทำได้เอง

March 18, 2021
298
ข้อดีของจุกหลอก

จุกหลอก มีดีอย่างไร ในเด็กต่ำกว่า 1 ปี

March 17, 2021
478
พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

February 17, 2021
159
วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่ได้จากการปั๊มนม และคำแนะนำในการอุ่นนมแม่

February 13, 2021
344
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
1.4k
เคล็ดลับการให้นมแม่ ฉบับมนุษย์แม่ออฟฟิศ (วันลาคลอดจะหมดแล้ว วางแผนการให้นมแม่กันเถอะ)

เคล็ดลับการให้นมแม่ ฉบับมนุษย์แม่ออฟฟิศ

February 8, 2021
385
Next Post
อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

  • Trending
  • Comments
  • Latest
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In