Mama Loves Me
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก
Mama Loves Me
No Result
View All Result
Home ตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์คุณแม่ ตลอด 40 สัปดาห์

Arrani by Arrani
February 19, 2021
in ตั้งครรภ์
Reading Time: 3min read
0
พัฒนาการทารกในครรภ์คุณแม่ ตลอด 40 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์คุณแม่ ตลอด 40 สัปดาห์

0
SHARES
670
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

แม่เชื่อว่าคุณแม่หลาย ๆ ท่านกำลังตื่นเต้นที่จะได้เป็นคุณแม่เต็มตัวในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งการตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อาการตั้งครรภ์ของคุณแม่แต่ละท่านก็ย่อมแตกต่างกันไป คุณแม่บางท่านอาจจะมีรอบเดือนล่าช้าหรือพลาดไป บางคนก็อาจจะมีอาการแสดงของการตั้งครรภ์ภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการตั้งครรภ์ ในขณะที่บางคนอาจมีอาการช่วง 2-3 สัปดาห์หรือบางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย (1) แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นสุด ๆ ก็คงเป็นแต่ละช่วงของทารกในครรภ์ที่มีพัฒนาการในแต่ละสัปดาห์ที่ต่างกันไป คุณแม่คงอยากรู้แล้วใช่มั้ยคะว่า ในแต่ละสัปดาห์นั้น ทารกน้อยได้ส่งสัญญาณในเรื่องพัฒนาการอย่างไรบ้าง ลองไปอ่านกันเลยค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ จะแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้: (2), (3)

พัฒนาการทารกในครรภ์
พัฒนาการทารกในครรภ์

ไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 1-4

ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:

    • ทารกจะมีขนาดเท่าเมล็ดงาดำ
    • หัวใจและสมองของทารกกำลังเริ่มเติบโต
    • ในสัปดาห์ที่ 4 เซลล์ของทารกจะถูกแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเพื่อกระบวนการสร้างระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งระบบย่อยอาหาร

ในขณะที่ร่างกายคุณแม่จะมีอาการดังต่อไปนี้

    • รู้สึกเหนื่อยหรือไม่สบายท้อง
    • หน้าอกเริ่มคัด และรู้สึกไวต่อสิ่งกระตุ้นหรือรับความรู้สึกได้ง่าย

คำแนะนำ: คุณแม่จึงควรพักผ่อนเมื่อจำเป็น เพราะร่างกายของคุณแม่กำลังทำงานอย่างหนักในการเติบโตของทารกน้อยค่ะ

สัปดาห์ที่ 5-8

สัปดาห์ที่ 5-8
สัปดาห์ที่ 5-8

ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:

    • เมื่อ 6 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวหรือประมาณ 3 มิลลิเมตร และจะมีขนาดความยาวประมาณ 1.3 เซนติเมตรในสัปดาห์ที่ 8 และไขสันหลังจะเติบโตอย่างรวดเร็ว
    • สัปดาห์ที่ 5 ในที่สุดทารกจะมีหลอดประสาทที่กำลังพัฒนา ซึ่งจะกลายเป็นระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง)
    • สัปดาห์ที่ 7 หัวใจทารกจะเต้นแรงขึ้น ตัวอ่อนได้มีการพัฒนารกและถุงน้ำคร่ำ รกกำลังฝังเข้าไปในผนังมดลูกเพื่อเข้าถึงออกซิเจนและสารอาหารจากกระแสเลือดของคุณแม่
    • ดวงตา จมูก และริมฝีปากของทากรักกำลังเริ่มก่อตัวขึ้น
    • ปอดและไตเริ่มโตขึ้น

ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังต่อไปนี้:

    • อาจเข้าห้องน้ำมากกว่าปกติ
    • อาจรับหรือสัมผัสในเรื่องของกลิ่นหรือรสชาติต่าง ๆ แตกต่างไป เช่น ก่อนตั้งครรภ์คุณแม่อาจชอบใช้น้ำหอมกลิ่นนี้มาก แต่อาจจะรู้สึกว่ากลิ่นโปรดมันฉุนเกินจะต้านไหว เป็นต้น
    • หัวนมของคุณแม่อาจมีสีเข้มขึ้น

สัปดาห์ที่ 9-12

ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:

    • เมื่อทารกอายุถึง 10 สัปดาห์ จะมีขนาดประมาณผลองุ่นหรือมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร
    • ในสัปดาห์ที่ 9 ทารกจะเริ่มมีตา ปาก และลิ้นเริ่มก่อตัวขึ้น มีกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ช่วยให้ทารกเริ่มเคลื่อนไหวได้ เซลล์เม็ดเลือดจะถูกสร้างโดยตับของทารก
    • ลูกน้อยสามารถกำปั้นและขยับขาได้
    • สมองมีการใช้งานและมีคลื่นสมอง และอวัยวะทั้งหมดของร่างกายจะถูกสร้างขึ้นในสัปดาห์ที่ 10
    • ฟันทารกกำลังงอกในเหงือกเมื่ออายุประมาณ 11 สัปดาห์
    • เล็บมือและเล็บเท้าของลูกน้อยกำลังเติบโตในสัปดาห์ที่ 12

ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:

    • อาจมีอาการท้องผูก พยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น
    • รู้สึกหิวเป็นพิเศษ การมีของว่างที่ดีต่อสุขภาพไว้ใกล้ ๆ ก็ช่วยคุณแม่ได้เยอะเลยค่ะ
    • จะมีตุ่มเล็กที่เรียกว่า ต่อมมอนต์โกเมอรี ที่จะปรากฏรอบหัวนมของคุณแม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ

ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 13-17

สัปดาห์ที่ 15
สัปดาห์ที่ 15

ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:

    • เมื่อทารกอายุ 13 สัปดาห์ จะมีขนาดเท่ากับแอปเปิ้ลหรือมีความยาวมากกว่า 7 เซนติเมตร
    • คุณแม่สามารถได้ยินการเต้นของหัวใจของทารกด้วยเครื่องตรวจฟังเสียงได้ค่ะ
    • ทารกจะเริ่มได้ยินเสียง
    • ทารกเริ่มร้องไห้ได้เมื่อได้ยินเสียง ซึ่งอยู่ในพัฒนาการช่วงสัปดาห์ที่ 14
    • ทารกในครรภ์จะมีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตรเมื่ออายุ 16 สัปดาห์

ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:

    • อาการคลื่นไส้อาเจียนเริ่มดีขึ้น แต่คุณแม่อาจมีอาการอาหารไม่ย่อย
    • คุณแม่เริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวหรือการดิ้นของทารกนั่นเอง
    • หน้าอกของคุณแม่เริ่มผลิดน้ำนมเหลืองซึ่งเป็นน้ำนมแรกสำหรับทารก

สัปดาห์ที่ 18-22

ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:

    • เมื่ออายุ 18 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดเท่าหัวมันเทศ และจะมีความยาวประมาณ 21 เซนติเมตรเมื่ออายุ 20 สัปดาห์
    • คิ้วและขนตาของทารกจะปรากฏขึ้น
    • ทารกอาจดูดนิ้วหัวแม่มือตัวเอง
    • หูของทารกสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ลูกน้อยจะได้ยินเสียงอู้อี้ ๆ จากภายนอก

ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:

    • ปวดขาและปวดหลังซึ่งเป็นเรื่องปกติ
    • คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกน้อยเคลื่อนไหวหรือดิ้นมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ๆ เลยใช่มั้ยคะ?
    • คุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดของเสื้อชั้นในหรือใส่เสื้อชั้นในสำหรับคนท้อง

สัปดาห์ที่ 23-27

สัปดาห์ที่ 24
สัปดาห์ที่ 24

ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:

    • เมื่ออายุ 23 -24 สัปดาห์ ทารกจะขนาดเท่ามะเขือม่วง หรือมีความยาวประมาณ 33 เซนติเมต
    • ทราบเพศของทารก หากคุณแม่ต้องการจะรู้เพศลูก ก็สามารถทำการอัลตร้าซาวด์จากคุณหมอได้เลยค่ะ
    • ผิวหนังปกคลุมด้วยขนละเอียด (lanugo) และได้รับการปกป้องโดยชั้นของการหลั่งของขี้ผึ้ง (vernix)
    • เปลือกตาแยกออกเป็นเปลือกตาบนและล่างทำให้ทารกสามารถเปิดและปิดตาได้ จึงสามารถมองเห็นแสงสว่างได้
    • ทารกเคลื่อนไหวและหายใจด้วยปอด

ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:

    • หิวมากกว่าปกติและรับประทานอาหารบ่อยขึ้น
    • มีอาการปวดหลังหรือบวมที่เท้าและข้อเท้า ทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย และพักผ่อนหากจำเป็นค่ะ

ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 28-31

ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:

    • เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดเท่าหัวผักกาดแก้ว (iceberg lettuce) ตอนนี้ทารกมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม หรือ 1,000 กรัม หรือ 2 ปอนด์ 2 ออนซ์ และวัดความยาวได้ประมาณ 25 เซนติเมตร หรือ 10 นิ้ว
    • กระดูกของทารกจะพัฒนากเต็มที่
    • ทารกจะรู้จักและคุ้นเคยในเสียงของคุณแม่ พูดคุย ร้องเพลง หรือ เล่นดนตรีให้ลูกน้อยฟังก็ช่วยเสริมพัฒนาการได้ค่ะ
    • ทารกสามารถลิ้มรสชาติของอาหารบางอย่างที่คุณแม่รับประทาน ดังนั้นพยายามเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพนะคะ

ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:

    • ในช่วงไตรมาสที่ 3 คุณแม่อาจมีน้ำนมไหลออกมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ
    • คุณแม่อาจมีอาการเกร็งเล็กน้อย หรือ การเจ็บท้องเตือนหรือเจ็บหลอก เนื่องจากมดลูกของคุณแม่มีการบีบตัวหรือเราเรียกว่า Braxton Hicks หากคุณแม่มีอาการนี้มากกว่าห้าครั้งในหนึ่งชั่วโมง กรุณาโทรหาแพทย์อย่างเร่งด่วนค่ะ

สัปดาห์ที่ 32-35

สัปดาห์ที่ 35
สัปดาห์ที่ 35

ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:

    • เมื่ออายุ 33 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดเท่าสับปะรด
    • ทารกสามารถกระพริบตาได้ และพวกเขาจะหลับตาระหว่างการนอนหลับและลืมตาขึ้นในขณะที่ตื่น
    • สมองและปอดของทารกยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    • ทารกจะอยู่ในตำแหน่ง “หัวลง” เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด

ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:

    • อาจจะรู้สึกปวดหลังมากขึ้น
    • อาจมีอาการท้องผูกและจำเป็นต้องฉี่บ่อยขึ้น ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกรำคาญใจตงิด ๆ ที่ต้องเดินเข้าห้องน้ำมากยิ่งขึ้น
    • อาจมีอาการหายใจไม่ออกและมีปัญหาในการนอนหลับ พยายามนอนตะแคงโดยมีหมอนหนุนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งแม่แนะนำเลยค่ะ เพราะช่วยให้การนอนหลับของแม่ดีขึ้นมากจริง ๆ ค่ะ

สัปดาห์ที่ 36-40

ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:

    • สัปดาห์ที่ 36 ทารกมีความยาวประมาณ 46 เซนติเมตรซึ่งทารกจะวางหัวไว้ในเชิงกรานของคุณแม่พร้อมสำหรับการคลอด
    • ในช่วงเดือนสุดท้ายนี้ ร่างกายและอวัยวะ เช่น ปอดของทารก จะเติบโตขึ้นมาก
    • สัปดาห์ที่ 40 ทารกจะมีขนาดความยาวประมาณ 51 เซนติเมตร

หมายเหตุ: ทางที่ดี ควรรอจนกว่าทารกจะมีอายุอย่างน้อย 39 สัปดาห์ เว้นแต่แพทย์จะลงความเห็นว่าคุณแม่ต้องคลอดเร็วขึ้นด้วยเหตุผลทางการแพทย์ค่ะ

ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:

    • ท้องของคุณแม่จะต่ำลง เพราะทารกเริ่มกลับศีรษะเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ท่าคลอด ปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับสัญญาณของการเจ็บท้อง
    • น้ำนมเหลืองในเต้านมจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมแม่ที่โตเต็มที่ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่ทารกคลอด

เป็นไงบ้างคะคุณแม่ ๆ สำหรับการตั้งครรภ์ทารกน้อยใน 40 สัปดาห์ เห็นมั้ยละคะว่าทารกน้อยมีพัฒนาการที่แตกต่างกันมากมายในตลอดระยะเวลา 40 สัปดาห์ในครรภ์ของมารดา การสังเกตการเคลื่อนไหวหรือการดิ้นของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด ก็แสดงถึงสุขภาพของทารกน้อยได้นะคะ คุณแม่สามารถนับการดิ้นของทารกได้ อีกทั้งการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ก่อนถึงกำหนดคลอด ก็ทำให้คุณแม่ได้คลายกังวลกับการจัดการเรื่องของการคลอดให้เป็นไปอย่างราบรื่น และที่สำคัญคือ พยายามอย่าเครียด คิดบวก และสร้างมั่นใจให้กับตัวคุณแม่เองด้วยนะคะว่า ทารกของคุณจะคลอดออกมาดูโลกเมื่อพวกเขาพร้อมและร่างกายของคุณแม่เองนั่นแหละค่ะที่จะส่งสัญญาณที่ถูกต้องว่านี่แหละถึงเวลาที่รอคอยจะเจอหน้าเจ้าตัวเล็กแล้วค่า!!!


Resources:
(1) SECTION 3 MATERNAL HEALTH AND NUTRITION
(2) Your Pregnancy Week by Week
(3) Pregnancy – week by week

ShareTweet
Previous Post

พัฒนาการลูกน้อยจากวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี

Next Post

วิตามินสำคัญสำหรับคนท้อง เพื่อบำรุงร่างกายของแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อย

Arrani

Arrani

At home I’m a mother two two beautiful children and a wife to a loving husband. I love to share my experiences as we grow together as a family. I’m really into my kids, my home, fitness, and living a healthy lifestyle. At work I am an online marketing consultant with a Bachelor of Business Administration Program in Management from Prince of Songkhla University. I hope you enjoy our journey.

Related Posts

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
231
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
330
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
224
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
278
แก้อาการแพ้ท้อง เวียนหัว อ้วก อาเจียนตอนเช้า

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง เวียนหัว อ้วก อาเจียนตอนเช้า

April 13, 2021
434
เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

เมื่อรู้ว่าท้อง เตรียมตัว เตรียมใจยังไง ต้องบอกใครก่อนดี

April 2, 2021
165
Next Post
วิตามินสำคัญสำหรับคนท้อง

วิตามินสำคัญสำหรับคนท้อง เพื่อบำรุงร่างกายของแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อย

  • Trending
  • Comments
  • Latest
อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อาการแหวะนมของทารก แบบไหนนะที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

February 10, 2021
ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

February 5, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

February 5, 2021
ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

February 8, 2021
ลูกแรกเกิด 'นอนสะดุ้งตื่นตกใจ' ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ลูกแรกเกิด ‘นอนสะดุ้งตื่นตกใจ’ ผวา เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

อาการสะอึกของทารก เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันรักษา

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย - ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดกับการขับถ่าย – ถ่ายบ่อยแค่ไหนถือว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด

ปัญหาท้องผูกในเด็กแรกเกิด ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำไงดี ?

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวนของคนท้อง – วิธีจัดการกับอารมณ์ขณะตั้งครรภ์

September 13, 2021
ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

ท้องลูกแฝด สิ่งที่ควรรู้ เตรียมตัว เตรียมใจ

May 2, 2021
เช็กอาการคนท้อง - ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เช็กอาการคนท้อง – ท้องไหม สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

April 26, 2021
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ – จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องไหม

April 17, 2021
  • Home

© 2021 Mama Loves Me

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ตั้งครรภ์
  • แรกเกิดถึงขวบปีแรก

© 2021 Mama Loves Me

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In