แม่เชื่อว่าคุณแม่หลาย ๆ ท่านกำลังตื่นเต้นที่จะได้เป็นคุณแม่เต็มตัวในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งการตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อาการตั้งครรภ์ของคุณแม่แต่ละท่านก็ย่อมแตกต่างกันไป คุณแม่บางท่านอาจจะมีรอบเดือนล่าช้าหรือพลาดไป บางคนก็อาจจะมีอาการแสดงของการตั้งครรภ์ภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการตั้งครรภ์ ในขณะที่บางคนอาจมีอาการช่วง 2-3 สัปดาห์หรือบางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย (1) แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นสุด ๆ ก็คงเป็นแต่ละช่วงของทารกในครรภ์ที่มีพัฒนาการในแต่ละสัปดาห์ที่ต่างกันไป คุณแม่คงอยากรู้แล้วใช่มั้ยคะว่า ในแต่ละสัปดาห์นั้น ทารกน้อยได้ส่งสัญญาณในเรื่องพัฒนาการอย่างไรบ้าง ลองไปอ่านกันเลยค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ จะแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้: (2), (3)
ไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 1-4
ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:
-
- ทารกจะมีขนาดเท่าเมล็ดงาดำ
- หัวใจและสมองของทารกกำลังเริ่มเติบโต
- ในสัปดาห์ที่ 4 เซลล์ของทารกจะถูกแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเพื่อกระบวนการสร้างระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งระบบย่อยอาหาร
ในขณะที่ร่างกายคุณแม่จะมีอาการดังต่อไปนี้
-
- รู้สึกเหนื่อยหรือไม่สบายท้อง
- หน้าอกเริ่มคัด และรู้สึกไวต่อสิ่งกระตุ้นหรือรับความรู้สึกได้ง่าย
คำแนะนำ: คุณแม่จึงควรพักผ่อนเมื่อจำเป็น เพราะร่างกายของคุณแม่กำลังทำงานอย่างหนักในการเติบโตของทารกน้อยค่ะ
สัปดาห์ที่ 5-8
ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:
-
- เมื่อ 6 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวหรือประมาณ 3 มิลลิเมตร และจะมีขนาดความยาวประมาณ 1.3 เซนติเมตรในสัปดาห์ที่ 8 และไขสันหลังจะเติบโตอย่างรวดเร็ว
- สัปดาห์ที่ 5 ในที่สุดทารกจะมีหลอดประสาทที่กำลังพัฒนา ซึ่งจะกลายเป็นระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง)
- สัปดาห์ที่ 7 หัวใจทารกจะเต้นแรงขึ้น ตัวอ่อนได้มีการพัฒนารกและถุงน้ำคร่ำ รกกำลังฝังเข้าไปในผนังมดลูกเพื่อเข้าถึงออกซิเจนและสารอาหารจากกระแสเลือดของคุณแม่
- ดวงตา จมูก และริมฝีปากของทากรักกำลังเริ่มก่อตัวขึ้น
- ปอดและไตเริ่มโตขึ้น
ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังต่อไปนี้:
-
- อาจเข้าห้องน้ำมากกว่าปกติ
- อาจรับหรือสัมผัสในเรื่องของกลิ่นหรือรสชาติต่าง ๆ แตกต่างไป เช่น ก่อนตั้งครรภ์คุณแม่อาจชอบใช้น้ำหอมกลิ่นนี้มาก แต่อาจจะรู้สึกว่ากลิ่นโปรดมันฉุนเกินจะต้านไหว เป็นต้น
- หัวนมของคุณแม่อาจมีสีเข้มขึ้น
สัปดาห์ที่ 9-12
ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:
-
- เมื่อทารกอายุถึง 10 สัปดาห์ จะมีขนาดประมาณผลองุ่นหรือมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร
- ในสัปดาห์ที่ 9 ทารกจะเริ่มมีตา ปาก และลิ้นเริ่มก่อตัวขึ้น มีกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ช่วยให้ทารกเริ่มเคลื่อนไหวได้ เซลล์เม็ดเลือดจะถูกสร้างโดยตับของทารก
- ลูกน้อยสามารถกำปั้นและขยับขาได้
- สมองมีการใช้งานและมีคลื่นสมอง และอวัยวะทั้งหมดของร่างกายจะถูกสร้างขึ้นในสัปดาห์ที่ 10
- ฟันทารกกำลังงอกในเหงือกเมื่ออายุประมาณ 11 สัปดาห์
- เล็บมือและเล็บเท้าของลูกน้อยกำลังเติบโตในสัปดาห์ที่ 12
ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:
-
- อาจมีอาการท้องผูก พยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น
- รู้สึกหิวเป็นพิเศษ การมีของว่างที่ดีต่อสุขภาพไว้ใกล้ ๆ ก็ช่วยคุณแม่ได้เยอะเลยค่ะ
- จะมีตุ่มเล็กที่เรียกว่า ต่อมมอนต์โกเมอรี ที่จะปรากฏรอบหัวนมของคุณแม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 13-17
ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:
-
- เมื่อทารกอายุ 13 สัปดาห์ จะมีขนาดเท่ากับแอปเปิ้ลหรือมีความยาวมากกว่า 7 เซนติเมตร
- คุณแม่สามารถได้ยินการเต้นของหัวใจของทารกด้วยเครื่องตรวจฟังเสียงได้ค่ะ
- ทารกจะเริ่มได้ยินเสียง
- ทารกเริ่มร้องไห้ได้เมื่อได้ยินเสียง ซึ่งอยู่ในพัฒนาการช่วงสัปดาห์ที่ 14
- ทารกในครรภ์จะมีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตรเมื่ออายุ 16 สัปดาห์
ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:
-
- อาการคลื่นไส้อาเจียนเริ่มดีขึ้น แต่คุณแม่อาจมีอาการอาหารไม่ย่อย
- คุณแม่เริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวหรือการดิ้นของทารกนั่นเอง
- หน้าอกของคุณแม่เริ่มผลิดน้ำนมเหลืองซึ่งเป็นน้ำนมแรกสำหรับทารก
สัปดาห์ที่ 18-22
ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:
-
- เมื่ออายุ 18 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดเท่าหัวมันเทศ และจะมีความยาวประมาณ 21 เซนติเมตรเมื่ออายุ 20 สัปดาห์
- คิ้วและขนตาของทารกจะปรากฏขึ้น
- ทารกอาจดูดนิ้วหัวแม่มือตัวเอง
- หูของทารกสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ลูกน้อยจะได้ยินเสียงอู้อี้ ๆ จากภายนอก
ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:
-
- ปวดขาและปวดหลังซึ่งเป็นเรื่องปกติ
- คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกน้อยเคลื่อนไหวหรือดิ้นมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ๆ เลยใช่มั้ยคะ?
- คุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดของเสื้อชั้นในหรือใส่เสื้อชั้นในสำหรับคนท้อง
สัปดาห์ที่ 23-27
ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:
-
- เมื่ออายุ 23 -24 สัปดาห์ ทารกจะขนาดเท่ามะเขือม่วง หรือมีความยาวประมาณ 33 เซนติเมต
- ทราบเพศของทารก หากคุณแม่ต้องการจะรู้เพศลูก ก็สามารถทำการอัลตร้าซาวด์จากคุณหมอได้เลยค่ะ
- ผิวหนังปกคลุมด้วยขนละเอียด (lanugo) และได้รับการปกป้องโดยชั้นของการหลั่งของขี้ผึ้ง (vernix)
- เปลือกตาแยกออกเป็นเปลือกตาบนและล่างทำให้ทารกสามารถเปิดและปิดตาได้ จึงสามารถมองเห็นแสงสว่างได้
- ทารกเคลื่อนไหวและหายใจด้วยปอด
ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:
-
- หิวมากกว่าปกติและรับประทานอาหารบ่อยขึ้น
- มีอาการปวดหลังหรือบวมที่เท้าและข้อเท้า ทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย และพักผ่อนหากจำเป็นค่ะ
ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 28-31
ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:
-
- เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดเท่าหัวผักกาดแก้ว (iceberg lettuce) ตอนนี้ทารกมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม หรือ 1,000 กรัม หรือ 2 ปอนด์ 2 ออนซ์ และวัดความยาวได้ประมาณ 25 เซนติเมตร หรือ 10 นิ้ว
- กระดูกของทารกจะพัฒนากเต็มที่
- ทารกจะรู้จักและคุ้นเคยในเสียงของคุณแม่ พูดคุย ร้องเพลง หรือ เล่นดนตรีให้ลูกน้อยฟังก็ช่วยเสริมพัฒนาการได้ค่ะ
- ทารกสามารถลิ้มรสชาติของอาหารบางอย่างที่คุณแม่รับประทาน ดังนั้นพยายามเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพนะคะ
ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:
-
- ในช่วงไตรมาสที่ 3 คุณแม่อาจมีน้ำนมไหลออกมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ
- คุณแม่อาจมีอาการเกร็งเล็กน้อย หรือ การเจ็บท้องเตือนหรือเจ็บหลอก เนื่องจากมดลูกของคุณแม่มีการบีบตัวหรือเราเรียกว่า Braxton Hicks หากคุณแม่มีอาการนี้มากกว่าห้าครั้งในหนึ่งชั่วโมง กรุณาโทรหาแพทย์อย่างเร่งด่วนค่ะ
สัปดาห์ที่ 32-35
ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:
-
- เมื่ออายุ 33 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดเท่าสับปะรด
- ทารกสามารถกระพริบตาได้ และพวกเขาจะหลับตาระหว่างการนอนหลับและลืมตาขึ้นในขณะที่ตื่น
- สมองและปอดของทารกยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- ทารกจะอยู่ในตำแหน่ง “หัวลง” เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด
ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:
-
- อาจจะรู้สึกปวดหลังมากขึ้น
- อาจมีอาการท้องผูกและจำเป็นต้องฉี่บ่อยขึ้น ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกรำคาญใจตงิด ๆ ที่ต้องเดินเข้าห้องน้ำมากยิ่งขึ้น
- อาจมีอาการหายใจไม่ออกและมีปัญหาในการนอนหลับ พยายามนอนตะแคงโดยมีหมอนหนุนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งแม่แนะนำเลยค่ะ เพราะช่วยให้การนอนหลับของแม่ดีขึ้นมากจริง ๆ ค่ะ
สัปดาห์ที่ 36-40
ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้:
-
- สัปดาห์ที่ 36 ทารกมีความยาวประมาณ 46 เซนติเมตรซึ่งทารกจะวางหัวไว้ในเชิงกรานของคุณแม่พร้อมสำหรับการคลอด
- ในช่วงเดือนสุดท้ายนี้ ร่างกายและอวัยวะ เช่น ปอดของทารก จะเติบโตขึ้นมาก
- สัปดาห์ที่ 40 ทารกจะมีขนาดความยาวประมาณ 51 เซนติเมตร
หมายเหตุ: ทางที่ดี ควรรอจนกว่าทารกจะมีอายุอย่างน้อย 39 สัปดาห์ เว้นแต่แพทย์จะลงความเห็นว่าคุณแม่ต้องคลอดเร็วขึ้นด้วยเหตุผลทางการแพทย์ค่ะ
ในขณะที่ร่างกายของคุณแม่จะมีอาการดังนี้:
-
- ท้องของคุณแม่จะต่ำลง เพราะทารกเริ่มกลับศีรษะเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ท่าคลอด ปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับสัญญาณของการเจ็บท้อง
- น้ำนมเหลืองในเต้านมจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมแม่ที่โตเต็มที่ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่ทารกคลอด
เป็นไงบ้างคะคุณแม่ ๆ สำหรับการตั้งครรภ์ทารกน้อยใน 40 สัปดาห์ เห็นมั้ยละคะว่าทารกน้อยมีพัฒนาการที่แตกต่างกันมากมายในตลอดระยะเวลา 40 สัปดาห์ในครรภ์ของมารดา การสังเกตการเคลื่อนไหวหรือการดิ้นของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด ก็แสดงถึงสุขภาพของทารกน้อยได้นะคะ คุณแม่สามารถนับการดิ้นของทารกได้ อีกทั้งการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ก่อนถึงกำหนดคลอด ก็ทำให้คุณแม่ได้คลายกังวลกับการจัดการเรื่องของการคลอดให้เป็นไปอย่างราบรื่น และที่สำคัญคือ พยายามอย่าเครียด คิดบวก และสร้างมั่นใจให้กับตัวคุณแม่เองด้วยนะคะว่า ทารกของคุณจะคลอดออกมาดูโลกเมื่อพวกเขาพร้อมและร่างกายของคุณแม่เองนั่นแหละค่ะที่จะส่งสัญญาณที่ถูกต้องว่านี่แหละถึงเวลาที่รอคอยจะเจอหน้าเจ้าตัวเล็กแล้วค่า!!!
Resources:
(1) SECTION 3 MATERNAL HEALTH AND NUTRITION
(2) Your Pregnancy Week by Week
(3) Pregnancy – week by week